วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

พล.ต.สมบูรณ์ ดีรอด ผบ.จทบ.กจ.เป็นประธานในวันเยี่ยมญาติทหารใหม่

           

             พล.ต.สมบูรณ์ ดีรอด  ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกกาญจนบุรี  เป็นประธานในวันเยี่ยมญาติทหารใหม่ รุ่นปี ๒๕๕๗  ผลัดที่ ๒  ณ ลานหน้าหน่วยฝึกทหารใหม่ จังหวัดทหารบกกาญจนบุรี




               ทหารใหม่ผลัดที่ ๒ ประจำปี  ๒๕๕๗  เข้ารายงานตัวและรับการฝึกตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๗  ครบ ๓๐ วัน จึงได้มีการเปิดให้มีวันเยี่ยมญาติทหารใหม่ขึ้น  เพื่อให้ญาติได้มาพบกับทหารใหม่ คลายความคิดถึง  ความกังวล และ ที่สำคัญจะได้มาเห็นการพัฒนาตัวเองของทหารใหม่ ทั้งทางร่างกาย  จิตใจ และ ระเบียบวินัย




                ในวันเยี่ยมทหารใหม่ของทุกครั้ง ทาง  กองบัญชาการกองพลทหารราบที่ ๙ ค่ายสุรสีห์  จะได้จัดให้มี พิธีสวนสนาม เพื่อแสดงถึงความเข้มแข็ง  ความพร้อม และ ระเบียบวินัย ของทหารใหม่ ซึ่งผู้ปกครอง  ครอบครัวของทหารใหม่ จะได้เห็นถึงความเปลีี่ยนแปลงที่ดี ของทหารใหม่  และ เกิดความภาคภูมิใจ ของทหารใหม่



               บรรดา พ่อแม่ ผู้ปกครอง และ ญาติทหารใหม่ ก็จะรอวันที่ทางหน่วยฝึกจะอนุญาติให้มีการพบทหารใหม่ ในทุกๆครั้ง ซึ่งตั้งแต่วันไปรับตัวมาจากท้องที่ของทหารใหม่ ในแต่ละอำเภอ ของแต่ละจังหวัด ทหารใหม่ทุกนาย ก็จะถูกนำตัวมายังค่ายฝึกทหารใหม่ ของ กองบัญชาการกองพลทหารราบที่ ๙ ค่ายสุรสีห์  แห่งนี้ เพื่อเปลี่ยนแปลง ให้เข้ากับการเป็นทหาร ตั้งแต่ การตัดผม แต่งเครื่องแบบทหาร  การฝึกร่างกาย  จิตใจ  อารมย์ และ สังคม ให้สามารถอยู่ร่วมกับทหารใหม่ คนอื่นๆ ได้




                   ซึ่งทาง กองบัญชาการกองพลทหารราบที่ ๙ ค่ายสุรสีห์  สามารถฝึกทหารใหม่ ให้มีความพร้อม ทั้งทางร่างกาย  จิตใจ  อารมย์  สังคม และ  ระเบียบวินัย ในฐานะ ทหาร  ได้เป็นอย่างดี ในทุกๆรุ่น  จะเห็นได้จาก พิธีสวนสนาม ที่มีความพร้อมเพรียง  มีระเบียบ แบบแผน  การฝึกการรบ  การใช้อาวุธ ยุทโธปกรณ์ ซึ่งทหารใหม่สามารถ ทำได้ดี  ในระยะเวลาการฝึกเพียง ๓๐ วันแรกเท่านั้น



                 พ่อแม่ผู้ปกครอง ที่เฝ้าดู ในพิธีสวนสนาม  ต่างชื่นชม และ ภูมิใจ ในบุตรหลาน  ตัวทหารใหม่เอง ก็ปฏิบัติภารกิจ อย่าง ตั้งอกตั้งใจ 



                ภารกิจ จบลงอย่างสวยสด งดงาม ได้รับเสียงปรบมือ ดังสนั่น  จาก ผู้ปกครอง ที่เฝ้าดูอยู่ด้านข้าง ของสนามฝึก   นับเป็นความภาคภูมิใจ ของ ทั้งผู้ปกครองของทหารใหม่ และ  กองบัญชาการกองพลทหารราบที่ ๙ ค่ายสุรสีห์


              หลังเสร็จสิ้น  ภารกิจ และ พิธีการ  เมื่อครูฝึก อนุญาต  ให้ไปพบญาติได้ ต่างโผเข้ากอดกัน  วันที่แม่กับลูกต้องจากกัน เพื่อมาเป็นทหาร วันที่ได้มาพบกัน ความปิติยินดี  ความดีใจ  ความปลื้มใจ ที่เห็นลูก  เป็นคนที่เต็มคน  อยู่ในเครื่องแบบทหารเต็มยศ  มีร่างกาย ที่แข็งแรง  มีระเบียบวินัย ที่ดี " น้ำตา " ก็ไหลริน ในทุกๆครอบครัว น้ำตาของความดีใจ ของแม่ กับลูก  ของสามี กับ ภรรยา ..




             อาหารของทางกองทัพ  วันนี้ คงจะเหลือเป็นแน่ เพราะพ่อแม่ผู้ปกครอง ต่างเตรียมอาหาร ที่ลูกชอบมาจากบ้าน กันจำนวนมาก มื้อนี้ เป็นมื้อที่อร่อย ที่สุดในโลก หลังจาก .. ต้องจากบ้านมา ๑ เดือนเต็ม  ความติดถึงบ้าน  คิดถึงครอบครัว ..  คิดถึงลูก ..



                ท่านผู้บังคับการ จทบ.กจ. พล.ต.สมบูรณ์ ดีรอด  เดินทักทาย กับ พ่อแม่  ผู้ปกครอง ทหารใหม่ อย่างเป็นกันเอง  ท่านเองก็คงดีใจ  เหมือนกับ ผู้ปกครองทหารใหม่ ทุกท่าน  ที่ได้เห็นภาพแห่งความประทับใจ ในวันนี้




               

กองบัญชาการกองพลทหารราบที่ ๙ ค่ายสุรสีห์



ประวัติของหน่วย

               หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ยุติลงในปี พ.ศ.๒๔๘๔ เวียดนามได้ประกาศที่จะต่อสู้กับฝรั่งเศส เพื่อให้ เวียดนาม หลุดพ้นจากสภาพการเป็น อาณานิคมของฝรั่งเศส ได้มีการสู้รบกัน อย่างหนัก เป็นเวลา ถึง ๘ปี จนกระทั้ง ประเทศฝรั่งเศสยอมรับความปราชัย และได้มีการ ลงนามใน "อนุสัญญาเจนีวา พ.ศ.๒๔๙๗" ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จึงมีผลให้เวียดนามถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ โดยเส้นขนานที่ ๑๗ องศาเหนือ เป็นเส้นแบ่งเขตเวียดนามเหนือ ยึดถือ การปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ภายใต้การนำของ โฮจิมินห์ ซึ่งพยายาม ที่จะรวมเวียดนาม ทั้งสองส่วนเข้าด้วยกันจึงได้ส่งกำลัง กอง โจรเวียดกง เข้าก่อกวนและแทรกซึมเข้าไปในเวียด นามใต้ อย่างต่อเนื่องในพ.ศ.๒๕๐๘ เวียดนามใต้ ตกอยู่ ในจุดล่อแหลม พ.ศ. ๒๕๑๐ รัฐบาลสหรัฐ อเมริกาได้ส่งกำลังทหาร เข้าไปปฏิบัติการใน เวียดนาม ใต้ พร้อมด้วยกำลังทหารของพันธมิตร อีก ๖คือ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์, สเปน, ฟิลิปปินส์, เกาหลีใต้และประเทศไทย สงครามเวียดนาม จึงได้เริ่มตั้งแต่ นั้นเป็นต้นมา ซึ่งคณะรัฐมนตรี ได้ลงมติ อนุมัติหลักการให้ความ ช่วยเหลือทางทหารแก่รัฐบาลสาธารณรัฐเวียดนาม จัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจขึ้น เรียกว่า "กรมทหารอาสาสมัคร" (กรม อสส.) มีภารกิจในการรบเป็นหลัก และปฏิบัติการช่วยเหลือประชาชนเป็นรอง ถือว่าเป็นกองกำลังทหารไทยหน่วยแรก ที่ปฏิบัติการรบในเวียดนาม ได้สมญานามว่า "จงอางศึก" หลังจากที่ กรมทหาร อาสาสมัคร เดินทางไปปฏิบัติการรบในสาธารณรัฐเวียดนาม เป็นเวลา ๑ ปี กองทัพบกได้ มอบให้คณะกรรมการพิจารณา เตรียมการส่งกำลังไปผลัดเปลี่ยน กรมทหารอาสาสมัคร และเพิ่มเป็น ๑ กองพลทหารอาสาสมัคร 

             เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๑ จึง มีคำสั่งจัดตั้ง "กองพลทหารอาสาสมัคร " บรรจุมอบเป็นหน่วยขึ้นตรงกองทัพบก มีที่ตั้งปกติ ณ ค่ายกาญจนบุรี ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี และไปปฏิบัติการรบ ในสาธารณรัฐเวียดนาม มีสมญานามเป็น ที่รู้จักกัน ในนามว่า "กองพลเสือดำ" 


             เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๑๔ กองทัพบกได้ออกคำสั่งตั้งกองพลใหม่ขึ้น บริเวณ ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี โดยแปรสภาพ กองพลทหารอาสาสมัคร " กองพลเสือดำ" เป็นกองพลใหม่ ขนานนามว่า "กองพลที่ ๙" เหตุผลว่าเป็นครบรอบปี ๒๔ แห่งวันรัชดาภิเษกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ รัชกาลที่ ๙ และเมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๑๗ กองทัพบกได้ขนานนาม ค่ายที่ตั้ง กองพลที่ ๙ ว่า "ค่ายกาญจนบุรี"
 

               ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๕ กองทัพบกได้ออกคำสั่ง ให้เปลี่ยนนามจากหน่วยเดิม กองพลที่ ๙ เป็น กองพลทหารราบที่ ๙ เป็นกองพลเดียว ในกองทัพบกที่มีหน่วยขึ้นตรงอยู่ในพื้นที่เดียวกันบนเนื้อที่ประมาณ ๖๖,๗๕๒ ไร่ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๓ กองทัพบกได้มีประกาศ ขอพระราชทานเปลี่ยนนามค่ายใหม่จากเดิม ค่ายกาญจนบุรี เป็น "ค่ายสุรสีห์" อันเนื่องมาจากสถานที่ตั้ง กองพลทหารราบที่ ๙ เดิมเป็นสมรภูมิสงคราม ทุ่งลาดหญ้าใน สงครามเก้าทัพ เมื่อ พ.ศ.๒๓๒๘ กองทัพไทย โดย สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชกาลที่ ๑ ( เจ้าพระยาสุรสีห์ ) เป็นแม่ทัพ ได้มีชัยชนะแก่ข้าศึก ได้อย่างสมบูรณ์ โดยทำการรบแตกหัก ณ พื้นที่ตั้งค่ายสุรสีห์แห่งนี้

           ประวัติการปฏิบัติราชการสนาม ของกองพลทหารราบที่ ๙

๑. ค.ศ.1968 - ค.ศ.1970 SOUTH VIETNAM (ปฏิบัติการรบในเวียดนามใต้ "กองพลเสือดำ")
๒. พ.ศ.๒๕๑๕ - พ.ศ.๒๕๑๖ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย (ปฏิบัติการตามแผนยุทธการสามชัย)
๓. พ.ศ.๒๕๑๖ - พ.ศ.๒๕๑๗ เชียงราย พะเยา น่าน (ปราบปราม ผกค.)
๔. พ.ศ.๒๕๑๗ - พ.ศ.๒๕๒๔ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย (ปราบปราม ผกค.)
๕. พ.ศ.๒๕๒๔ -พ.ศ.๒๕๒๕ ปราจีนบุรี (ภารกิจป้องกันชายแดนด้านตะวันออกในเขต ทภ.๑)
๖. พ.ศ.๒๕๒๖ - พ.ศ.๒๕๒๗ ประจวบคีรีขันธ์ (ลดเงื่อนไขสงครามการปฏิบัติของพรรคคอมมิวนิตส์ แห่งประเทศไทย )
๗. พ.ศ.๒๕๒๙ - พ.ศ.๒๕๓๐ อ.ทองผาภูมิ (ศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ๑๒)
๘. พ.ศ.๒๕๓๑ อ.สังขละบุรี (ป้องกันการรุกล้ำอธิปไตย กรณีการแย่งพื้นที่ อ.พญาตองซู ของ ชกน.)
๙. ค.ศ.1989 - ค.ศ.1999 SOUTH KOREA(หน่วยแยก ทบ.ไทย ประจำบก.สหประชาชาติ)
๑๐. พ.ศ.๒๕๓๘ - ปัจจุบัน ชายแดนด้านตะวันตกกาญจนบุรี ถึง ประจวบคีรีขันธ์
๑๑. ค.ศ.2002 EAST TIMOR (กกล.รักษาสันติภาพ ๙๗๒ ไทย/ติมอร์)
๑๒. ค.ศ.2003 - ค.ศ.2004 IRAQ (ชุดทหารเสนารักษ์ร่วมปฏิบัติภารกิจใน กกล.ฉก.๙๗๖ ไทย/อิรัก)
๑๓. พ.ศ.๒๕๔๗ ชุมพร-ระนอง (สนับสนุน ทภ.๔ ในการปฏิบัติตามแผนป้องกันประเทศชายแดนไทยพม่า)
๑๔. พ.ศ.๒๕๔๗ - ปัจจุบัน ยะลา (แก้ไขปัญหาการก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้)

ภารกิจ

กองพลทหารราบที่ ๙

             ทำหน้าที่ในการจัดกำลังรบหลัก เพื่อปฏิบัติตามแผนการป้องกันประเทศการรักษาความมั่นคงภายใน, การรักษาความสงบเรียบร้อยภายใน และเข้าร่วมในการพัฒนาประเทศ



กองกำลังสุรสีห์
            ป้องกันประเทศตามแนวชายแดนไทย  เมียนมาร์    และรักษาความมั่นคงภายใน ครอบคลุมพื้นที่ ๔ จังหวัด  ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี, ราชบุรี, เพชรบุรี และ ประจวบคีรีขันธ์ ความยาวทั้งสิ้นประมาณ ๘๔๖ กม. เพื่อป้องกันการรุกล้ำอธิปไตย และรักษาผลประโยชน์ของชาติ

กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๑  ส่วนแยกที่ ๒
            วางแผน อำนวยการ สั่งการ ประสานงานด้านความมั่นคงภายใน      ๒  แผนงาน ได้แก่ งานจัดระเบียบและเสริมความมั่นคงตามแนวชายแดน,งานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด    ในพื้นที่รับผิดชอบ ๔ จังหวัด คือ จังหวัดกาญจนบุรี, ราชบุรี เพชรบุรี  และ ประจวบคีรีขันธ์ และดำเนินการแก้ปัญหาด้านความมั่นคงตามที่ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๑  มอบหมาย

พล.ร.๙  :  เป็นหน่วยพร้อมรบ ระดับ ๑  มีลักษณะเด่น ๆ ที่สำคัญ ดังนี้
                   - มีโครงสร้างการจัดที่อ่อนตัว ต่การรับภารกิจหลากหลายรูปแบบ
                  - มีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ทางยุทธศาสตร์สูง เมื่อได้รับการสนับสนุนด้วยอากาศยาน
                   - มีความต้องการการส่งกำลังบำรุงน้อยกว่า เมื่อเทียบกับกองพลแบบอื่นๆ
                  - มีอำนาจกำลังรบสูง ในลักษณะของทหารราบเบา
                   - มีความต้องการเวลาและการเตรียมการในการตอบสนองต่อการปฏิบัติภารกิจน้อยกว่ากองพลแบบอื่นๆ
                  - มีคุณค่าทางยุทธการต่อสถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกประเทศ

ขีดความสามารถ :
                - สามารถทำการรบเป็นอิสระได้นาน  ๔๘  ชั่วโมง โดยไม่ต้องมีการส่งกำลังบำรุงเพิ่มเติม
                - ปฏิบัติการในภูมิประเทศ และลมฟ้าอากาศที่ยากลำบากได้
                - ปฏิบัติการรบแบบจู่โจม และการยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศได้อย่างจำกัด
                ปฏิบัติการแทรกซึมเข้าหรือออกจากสนามรบได้อย่างกว้างขวาง

หน่วยงานภายใน พล.ร.๙
       กรมทหารราบที่ ๙     
       กรมทหารราบที่ ๙   พัน ๑     กรมทหารราบที่ ๙   พัน ๒     กรมทหารราบที่ ๙   พัน ๓
        กรมทหารราบที่ ๑๙  
        กรมทหารราบที่ ๑๙   พัน ๑     กรมทหารราบที่ ๑๙   พัน ๒     กรมทหารราบที่ ๑๙   พัน ๓
        กรมทหารราบที่ ๒๙  
        กรมทหารราบที่ ๒๙   พัน ๑     กรมทหารราบที่ ๒๙   พัน ๒     กรมทหารราบที่ ๒๙   พัน ๓


         
       ทำเนียบผู้บังคับบัญชาภายในกองพลทหารราบที่ 9



         
        พล.ต.ณัฐ   อินทรเจริญ  ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ ๙    พ.อ.สนิธชนก  สังขจันทร์
รองผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ ๙    พ.อ.วุฒิชัย   นาควานิช รองผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ ๙   พ.อ.ศิระวุธ   วะน้ำค้าง  เสนาธิการกองพลทหารราบที่ ๙   พ.อ.กานต์นาท  นิกรยานนท์  รองเสนาธิการกองพลทหารราบที่ ๙(๑)  พ.อ.ฐนิตพัฒน์  อุทะนุตนันท์  
รองเสนาธิการกองพลทหารราบที่ ๙(๒)   

          
พ.อ.ยุทธพงศ์  คงนิล  
บ.ร.๙   
พ.อ.พงษ์สวัสดิ์ ภาชนะทิพย์  ผบ.ร.๑๙  
พ.อ.อิทธิพล  สุวรรณรัฐ  ผบ.ร.๒๙  
 พ.อ.ชัยยา จุ้ยเจริญ   ผบ.ป.๙  พ.อ.ฐกัด   หลอดศิริ  
 ผบ.กรม สน.พล.ร.๙   พ.ท.วัชรภ  บุรินทร์วัฒนา  หน.ฝกพ.พล.ร.๙    พ.ท.ธัชเดช อาบัวรัตน์   
หน.ฝขว.พล.ร.๙  พ.ท.ปกรณ์  เปลี่ยนรังษี   
หน.ฝยก.พล.ร.๙  พ.ท.พรรณศักย์เพรียวพานิช   หน.ฝกบ.พล.ร.๙ พ.ท.ธีระยุทธ เส้งรอด  
หน.ฝกร.พล.ร.๙  พ.ท.พิสิษฐ์  ตันกำเนิด  
หน.ฝกม.พล.ร.๙
                  




Cadit  พท.อภินันท์ แสงคุ้มภัย ฝ่ายข่าว บก.ควบคุม รส.จทบ.กจ. ( พื้นที่ สพ.)  
 รวัติ  น้อยวิจิตร  สุพรรณบุรีนิวส์  rewat.noyvijit@hotmail.com   ๐๘-๑๙๑๐-๗๔๔๕

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น