วันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2560

บริษัท พีทีไอ โพลีน เตรียมขยายโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อน ขนาด 6 เมกะวัตต์



            บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียการศึกษาและจัดทำรายงานประมวลหลักการปฏิบัติ (Code of Practice : CoP) และรายงานการศึกษามาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย (ESA) (ESA) โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อน ขนาด 6 เมกะวัตต์ ใช้เชื้อเพลิงจากขยะมูลฝอยแปรรูป (RDF) ณ หอประชุมที่ว่าการ อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี





             เมื่อ 8 มิ.ย.60 เวลา 09.30 น. นายกกชัย  ฉายรัศมีกุล นายอำเภอเฉลิมพระเกียรติ เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ 2 อำเภอ 6 ตำบล ผู้มีส่วนได้เสียการศึกษาและจัดทำรายงานประมวลหลักการปฏิบัติ (Code of Practice : CoP) และรายงานการศึกษามาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย (ESA) รับฟังความคิดเห็นใช้เชื้อเพลิงจากขยะมูลฝอยจาก ชุมชน ในระบบแปรรูป (RDF)โดยมี  หัวหน้าส่วนราชการผู้แทนส่วนราชการผู้นำท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และตัวแทนประชาชนในพื้นที่ร่วมประชุมกว่า 300 คน โดยมี นายนิรุตติ์   หุ่นรอด  นักวิชาการสิ่งแวดล้อม  นายพุทธพล  วสันต์ดิลก ผจก.แผนกสิ่งแวดล้อม  นายนราดล  ตันจารุพันธ์ ผู้จัดการฝ่ายคุณภาพซีเมตน์ บ.พีทีไอ โพลีน จำกัด  (มหาชน) ผู้บรรยาย  ชี้แจงถึงความจำเป็นในการสร้างไฟฟ้า เนื่องจากโรงงานกระเบื้องของบริษัทพีทีไอ  ต.บ้านแก้ง อ.เฉลิมพระเกียรติฯ มีความจำเป็นต้องใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้น






             จากนั้นได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็นโดยความคิดเห็นส่วนใหญ่ จะเป็นข้อกังวล คำถามเพื่อคลายความสงสัย โดยมี  ผู้แสดงความคิดเห็น หลากหลายประเด็น  อาทิ ผู้ร่วมประชุม ท่านหนึ่ง ซึ่งเป็น ผอ.รพ.สต. แห่งหนึ่ง ได้นำข้อมูลของ บ่อกำจัดขยะแห่งหนึ่ง ที่อยู่ในพื้นที่ ต.ห้วยแห้ง อ.แก่ง ของบริษัทแห่งหนึ่ง กล่าวอ้าง เป็นตัวอย่างในข้อกังวล ด้านผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม กับประชาชน ในพื้นที่  โดย ผู้บรรยายได้ชี้แจงให้ทราบเป็นคนละโครงการซึ่งโครงการของบริษัท ทีพีไอ เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ ใช้เชื้อเพลิงในระบบแปรรูป (RDF) จากการนำขยะชุมชน มาใช้อย่างครบวงจร เช่น ผลิตปุ๋ย  และวัสดุรีไซเคิล จนได้ได้เชื้อเพลิงระบบแปรรูป (RDF) ซึ่งแหล่งที่แยกขยะอยู่คนละพื้นที่กับโรงไฟฟ้าที่รับฟังความคิดเห็น และมีระบบป้องกันด้านสิ่งแวดล้อม และนำไปใช้อย่างสมบูรณ์แบบ  ซึ่งเป็นโครงการโรงฟ้าจากขยะชุมชน จะมีการป้องกัน





              ด้านผู้บรรยาย ได้ชี้แจง  อาทิ  ปัญหาสารปนเปื้อนที่มากับน้ำฝนปัญหาน้ำใต้ดินมีน้อยและแหล่งน้ำขาดแคลน มีน้อย ขยะที่จะเหลือจากการผลิต  ผู้แทนได้ชี้แจงถึงมาตรฐานของโครงการ การหมุนเวียนน้ำมาใช้ในโรงงาน , จะสร้างโรงงานปุ๋ยอินทรีย์ รองรับ ขยะอินทรีย์ ซึ่งบริษัทฯ มีประสบการณ์  การทำงาน ในลักษณะเช่นนี้มายาวนาน รับประกันคุณภาพของโรงงาน โดยจะดำเนินการต่างๆ เพื่อตอบแทนชุมชน ยืนยันในความห่วงใยสุขภาพของประชาชนในชุมชน  2. ปัญหาด้านการคมนาคมขนส่ง : จะมีการติดป้ายให้ประชาชนร้องเรียนหากได้รับความเดือดร้อนจากรถบรรทุกของบริษัทฯ 3. กลิ่นของเชื้อเพลิง RDF : กลิ่นจาก RDF จะมีน้อย เนื่องจากเป็นขยะแห้ง เมื่อแปรรูป แล้วกลิ่นจะลดลง ปัจจุบันโรงงานก็ได้มีการผลิตไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหินอยู่แล้ว การตรวจวัดค่าทางอากาศ เสียง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน คุณภาพน้ำผิวดินอยู่ในเกณฑ์ปกติ เนื่องจากไม่มีการระบายน้ำออกจากโรงงาน  4 ความกังวลเรื่องเสียง , ฝุ่นละออง , ผลกระทบด้านการเกษตร , ปัญหาต่างๆ ในอนาคต , การเชิญประชาชนมาร่วมประชุมอาจยังไม่ครอบคลุม ทำให้ประชาชนไม่ได้แสดงความคิดเห็นอย่างแท้จริงและเต็มที่ อยากให้ลงพื้นที่พร้อมมีแบบฟอร์มให้ประชาชนได้กรอกข้อคิดเห็น  ขอทราบการเยียวยาที่ชัดเจน : บริษัทฯ มีมาตรการในการควบคุมมลพิษจะมีการทำแผนระยาว หากเกิดมลภาวะในอนาคตจะมีการเยียวยา จะมีแนวทางการแก้ไข รวมไปถึงการปรับปรุงระบบการผลิต จะจัดให้มีชุมชุนและโรงงานทำงานร่วมกัน   5. เสนอให้มีการดูงาน เพื่อให้เห็นว่า RDF ไม่มีกลิ่น : บริษัทฯ ยินดีเปิดเผยข้อมูล ยินดีให้ไปเยี่ยมชมโรงงาน ปัจจุบันบริษัทก็ได้มีการส่งเสริมอาชีพ สนับสนุนงบประมาณให้แก่ชุมชน , มีฝ่ายมวลชนสัมพันธ์ลงพื้นที่ ในแต่ละปีจะมีผู้สนในมาดูงานปีละประมาณ 4,000 คน





               เกี่ยวกับโครงการ  บจ.ทีพีไอ โพลีน ดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องผ่านบริษัทในเครือทีพีไอโพลีน ประกอบด้วยธุรกิจต่างๆ เช่น ผลิตและจำหน่ายปูนซีเมนต์ เม็ดพลาสติก LDPE & EVA และกระเบื้องหลังคา เป็นต้น ปัจจุบันบริษัทฯ ประกอบกิจการโรงงานผลิตกระเบื้องหลังคา ตั้งอยู่ที่ ม.7 ต.บ้านแก้ง อ.เฉลิมพระเกียรติฯ จากการขยายกำลังการผลิต ทำให้มีความจำเป็นต้องการใช้ไอน้ำและพลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้น  ซึ่งโครงการฯ ตั้งอยู่ในโรงงานผลิตกระเบื้องหลังคา ม.7 ต.บ้านแก้งฯ พลังความร้อน 6 เมกะวัตต์ ใช้เชื้อเพลิงจากขยะชุมชนแปรรูป หรือเชื้อเพลิง RDF ระยะเวลาการก่อสร้างประมาณ 18 เดือน งบประมาณการก่อสร้างประมาณ 380 ล้านบาท ใช้น้ำสูงสุด 1,396 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน บ่อเก็บน้ำดิบภายในโรงงานกระเบื้อง ความจุ 300,000 ลูกบาศก์เมตร การจัดการน้ำเสีย บำบัดเบื้องต้นแล้วนำกลับไปใช้ใหม่ภายในโรงงานกระเบื้องต่อไป





(คนธรรมดา  ม้าตัวเดียว)   บรรณาธิการข่าว        
เรวัติ  น้อยวิจิตร  Hub Admin rewat.noyvijit@hotmail.com  081-9107445

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น