วันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2560

นวัตกรรมใช้เพียงนิ้วชี้วัดมวลกระดูก

 

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาตื หรือ วช.นำผลงานเครื่องวัดมวลกระดูก ที่เอ็กซเรย์เพียงนิ้วชี้คนป่วย จัดแสดงใน มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ขณะที่นักวิจัย ระบุ ผลงานวิจัยนี้หมาะกับการใช้ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ  



รองศาสตราจารย์ ดร.ชูชาติ ปิณฑวิรุจน์ นักจัยแห่งภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า กระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน กำลังป็นปัญหาสำคัญ เนื่องจากเป็นสาเหตุหนึ่งของการเสียชีวิต และภาวะ ทุพพลภาพในผู้สูงอายุ นับเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายอย่างมาก ทั้งนี้มาจากประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น ส่งผลให้มีแนวโน้มผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนเพิ่มขึ้น เนื่องจากมวลกระดูกจะเริ่มลดลงหลังจากอายุ 35 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะผู้หญิงที่หมดประจำเดือนใหม่ ๆ มวลกระดูกจะเริ่มลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคนี้ คือ การป้องกันและการรักษา  



อย่างไรก็ตาม หากมีการตรวจวินิจฉัยและรู้ว่าความหนาแน่นของมวลกระดูกลดต่ำลง และเริ่มรักษาตั้งแต่ระยะแรก ๆ จะสามารถป้องกันโรคกระดูกพรุน และลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษา ตลอดจนเพิ่ม
คุณภาพชีวิตผู้ป่วยสูงอายุได้  



รองศาสตราจารย์ ดร.ชูชาติ ฯ อธิบายว่าการวินิจฉัยโรคทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะใช้คลื่นอัลตร้าซาวด์น์ แสงเลเซอร์ หรือเอ็กซเรย์ ซึ่งงานจัยนี้เป็นการพัฒนาเครื่องวัดความหนาแน่นของกระดูก โดยใช้เอ็กซเรย์ 2 ระดับพลังงาน และออกแบบเครื่องฯ จากเครื่องเอ็กซเรย์ฟันที่มีขนาดเล็ก ปริมาณรังสีที่ใช้ต่ำ ปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน ใช้หน่วยตรวจจับเอ็กซเรย์ที่ใช้เก็บภาพแบบดิจิตอล ในการเก็บภาพจะถ่ายภาพของนิ้วชี้ 2 ภาพ ภาพหนึ่งถ่ายที่ค่าพลังงานเอ็กซเรย์ระดับต่ำ อีกภาพถ่ายที่พลังงานเอ็กซเรย์ระดับสูง โดยภาพเอ็กซเรย์ทั้ง 2 ระดับพลังงาน จะถูกส่งไปยังคอมพิวเตอร์ เพื่อคำนวณหาค่าความหนาแน่นมวลกระดูก




ผลทดลองเปรียบเทียบความหนาแน่น ของกระดูกจากเครื่องที่พัฒนากับเครื่องวัดฯ จากต่างประเทศ พบว่า มีความถูกต้องสูง ต้นทุนผลิตถูกกว่าหลายเท่าตัว จึงเหมาะที่จะนำมาใช้ในประเทศไทย โดยเฉพาะโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ เพื่อลดการนำเข้าจากต่างประเทศ

ใครที่อยากสัมผัสหรือต่อยอดผลงาน เครื่องวัดมวลกระดูกด้วยนิ้วชี้ สามารถเที่ยวชมได้ในงาน "มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ" จัดโดย วช.ระหว่างวันที่ 23-27 สิงหาคมนี้ ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กทม. ซึ่งมีงานวิจัยอื่นๆ อีกมากที่มุ่งเน้นการใช้ประโยชนจริง






จำนงค์ ศรัณยพิพัฒน์ เครือข่ายประชาสัมพันธ์ วช.
เรวัติ  น้อยวิจิตร  Hub Admin rewat.noyvijit@hotmail.com  081-9107445

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น