วันพฤหัสบดีที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2560

อบจ.สุพรรณบุรี บูรณาการเพิ่มศักยภาพบุคลากรกู้ชีพ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย



             กระทรวงสาธารณสุข    มีนโยบายให้จัดตั้งระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินขึ้นในทุกจังหวัด  ทั่วประเทศ   เพื่อให้การดูแลปฐมพยาบาล ทั้งนอกโรงพยาบาลและในโรงพยาบาล  โดยประเทศไทยมีข้อมูลการใช้บริการห้องฉุกเฉินจำนวนประมาณ 12ล้านครั้งต่อปี มีผู้ป่วยวิกฤติและเร่งด่วนประมาณ ร้อยละ 30  ที่จำเป็นต้องได้รับบริการการแพทย์ฉุกเฉินและเสียชีวิตนอกโรงพยาบาล หากมีระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ที่มีประสิทธิภาพจะช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินดังกล่าวได้ถึงปีละ 9,000- 12,000 คน  สาเหตุที่ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันเวลา เพราะมีระบบการบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่ด้อยประสิทธิภาพ  ไม่ครอบคลุมผู้ป่วยทุกคนและทุกพื้นที่   ขาดระบบที่เข้าถึงได้ง่าย      การช่วย  ณ  จุดเกิดเหตุยังด้อยคุณภาพ ซึ่งทำให้ผู้ป่วยพิการและเสียชีวิตโดยไม่จำเป็น เพื่อเป็นการพัฒนาเครือข่ายระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินตลอดจนบุคลากรและอาสาสมัคร     กู้ชีพที่สามารถให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินในหน่วยบริการระดับพื้นฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องรวดเร็ว และปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง อบจ.สุพรรณบุรี จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาเครือข่ายระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ขึ้น





               นายบุญชู จันทร์สุวรรณ   นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี  เปิดเผยว่า จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุในปี 2559 ของจังหวัดสุพรรณบุรี มีผู้บาดเจ็บจำนวน 15, 588 คน และเสียชีวิตจำนวน 307 คน เสียชีวิตนอกโรงพยาบาลจำนวน 150 คน คิดเป็นอัตราการตายต่อแสนคน  36.15 มีการเจ็บป่วยฉุกเฉินจำนวนมาก มีการแจ้งขอความช่วยเหลือระบบการแพทย์ฉุกเฉิน 1,866 ราย จากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นได้ว่าเกิดการสูญเสียชีวิตและทรัพยากรเป็นสิ่งที่ต้องรีบดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพื่อลดความเสี่ยงให้น้อยลงตามนโยบายของกระทรวงสาธารณะสุข ในการบริหารจัดการให้มีการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน / ผู้บาดเจ็บ  ด้วยทีมสุขภาพที่มีความรู้ความเข้าใจในการปฐมพยาบาลและการเคลื่อนย้ายนำส่ง การแจ้งขอความช่วยเหลือและประมานงานที่ดีรวดเร็วเหมาะสมในแต่ล่ะพื้นที่นั้น ภายใต้การควบคุมดูแลระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัด โดยมีหน่วยปฏิบัติการขั้นสูงจากโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลเอกชนและสถานพยาบาลหน่วยปฏิบัติการขั้นต้นจากองค์กรส่วนท้องถิ่นและมูลนิธิกู้ภัย ในพื้นที่ของแต่ล่ะจังหวัด





             สำหรับจังหวัดสุพรรณบุรีมีหน่วยงานปฏิบัติการขั้นต้นที่ผ่านการอบรมโครงการหนึ่งกู้ภัย (OTOP) โครงการอบอมช่วยเหลือผู้ป่วยผู้บาดเจ็บ ณ จุดเกิดเหตุแล้วขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยปฏิบัติการขั้นต้นของจังหวัดสุพรรณบุรี ครบร้อยละ 100 แต่พบว่ามีหน่วยปฏิบัติการเพียงร้อยละ 22  ทั้งนี้เนื่องจากหน่วยปฏิบัติการดังกล่าวไม่พร้อมปฏิบัติงานทำให้บางพื้นที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือ เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินและอุบัติเหตุ และคุณภาพการปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติการที่มีอยู่บางส่วนยังไม่ได้มาตรฐานและปัญหาการทำงานร่วมกับหน่วยปฏิบัติการอื่น  ประชาชนไม่รู้จักวิธีแจ้งขอความช่วยเหลือ จากปัญหาที่พบทำให้ผู้ป่วย/ผู้บาดเจ็บได้รับความช่วยเหลือล่าช้าเกิดภาวะเสี่ยงต่อการพิการและเสียชีวิตหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงร่วมมือกันหาวิธีที่จำให้ประชาชนที่ได้เกิดภัยและเกิดเหตุฉุกเฉินได้รับการดูแลขั้นต้นโดยการนำอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน(อปพร.) อาสาสมัครสาธารณสุขตลอดจนอาสาสมัครกู้ภัยในพื้นที่ที่มีความพร้อมมาเพิ่มศักยภาพในการกู้ชีพ/กู้ภัยเบื้องต้นให้เกิดความเข้าใจสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย






               องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี  ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้ร่วมมือกับโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราชร่วมกันจัดทำโครงการ การเพิ่งศักยภาพบุคลากรกู้ชีพกู้ภัยในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยและผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาและรูปแบบบูรณาการพร้อมกับได้จัดทำโครงการระบบการแพทย์ฉุกเฉินรุ่นที่ 1 ขึ้น  เพื่อ พัฒนาองค์ความรู้ในด้านการกู้ชีพ/กู้ภัยและการช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินเบื้องต้น และเพื่อเป็นการบูรณาการการทำงานของหน่วยงานภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตลอดจนอาสาสมัครต่างๆ รวมทั้งให้อาสาสมัครมีความรู้ทักษะและความชำนาญในการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนและเพื่อเป็นการเสริมสร้างพันธภาพบุคลากรท้องถิ่นและหน่วยงานรัฐอื่นๆที่มีหน้าที่ในการช่วยเหลือประชาชนเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินการตรวจค้นเป้าหมายยาเสพติด การช่วยเหลือคนจมน้ำ อุบัติเหตุรถยนต์รถจักรยานยนต์ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การใช้ถังเคมีดับเพลิงเมื่อเกิดเพลิงไหม้ฯลฯ อีกทั้งเป็นการฝึกอบรมและแข่งขันเพื่อค้นหาทีมที่มีความเป็นเลิศเพื่อนำไปสู่การแข่งขันอื่นๆต่อไป




เกรียงไกร  ก่อเกียรติตระกูล  บรรณาธิการข่าว        
เรวัติ  น้อยวิจิตร  Hub Admin rewat.noyvijit@hotmail.com  081-9107445

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น