สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. หนุนวิจัยสร้างทางเลือกให้ชุมชนพื้นที่สูง ปลูกเก็กฮวยแก้ปัญหาพื้นที่ได้ผลจริง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทธิพร ธเนศสกุลวัฒนา นักวิจัยจากสถาบันพัฒนาเศรษฐกิจ พลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย กล่าวถึงงานวิจัยมุ่งเป้าที่ วช.สนับสนุนเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ภายใต้โครงการขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรยั่งยืน ทดแทนการปลูดข้าวโพด ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย และนำสื่อมวลชนสัญจร ลงพื้นที่ตามโครงการฯ เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2561ว่า คณะนักวิจัย ได้เลือกพื้นที่วิจัยที่มีปัญปลูกพืชทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่วนใหญ่ปลูกข้าวโพดใช้สารเคมี และพื้นที่เสี่ยงปัญหายาเสพติด ตามตะเข็บชายแดนไทย-พม่า ในตำบลเทอดไทย และแม่สลองใน อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย โดยสร้างองค์ความรู้การปลูกเก็กฮวยอินทรีย์ และถ่ายทอดสู่ชุมชนผ่านทางโรงเรียนสามัคคีพัฒนา ซึ่งเป็นโรงเรียนในพื้นที่ ให้เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบ "เก็กฮวยอินทรีย์" สายพันธุ์สีเหลือง ดอกใหญ่ เนื่องจากเป็นที่ต้องการของตลาด จากนั้นสร้างการมีส่วนร่วมและขยายผลสู่ชุมชนจนประสบผลเร็จ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ และเป็นรั้วกันภัยทั้งมลพิษและยาเสพติด
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทธิพรฯ ยอมรับว่า ช่วงแรกๆ ชุมชนยังไม่ยอมรับ แต่เมื่อเพื่อนบ้านปลูกเก็กฮวยได้ผล จึงทดลองปลูกบ้าง โดยการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชน จนมีเกษตรกรหันมาปลูกเก็กฮวยอินทรีย์ แทนการปลูกข้าวโพดเพิ่มขึ้นเป็น 60 ไร่ โดยเฉลี่ย 1 ครัวเรือนต่อ 1 ไร่ เพราะไม่ต้องใช้พื้นที่มาก และช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตจะอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ ซึ่งสร้างรายได้ดีกว่าการปลูกข้าวโพด แต่ผลผลิตเก็กฮวยอินทรีย์ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด ดังนั้น จะมีการพัฒนาผู้ประกอบการ SME และช่องทางการตลาดเพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไป
อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ยังคงขับเคลื่อนและเป็นพี่เลี้ยงให้สังคมและชุมชนอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นภารกิจสำคัญ ตามนโยบายรัฐบาล
จำนงค์ ศรัณยพิพัฒน์ เครือข่ายประชาสัมพันธ์ วช
เรวัติ น้อยวิจิตร Hub Admin rewat.noyvijit@hotmail.com 081-9107445
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น