วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

นายธีรวัชร ภรสัมฤทธิ์ เป็นประธานเปิดกิจกรรม Wednesday เว้นโรค



วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน 2559 นายธีรวัชร ภรสัมฤทธิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบวิจัย รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานเปิดกิจกรรม Wednesday เว้นโรค ณ หน้าอาคาร วช. 2 โดยมีข้าราชการและบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 200 คน
















อนงค์วดี จีระบุตร ประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
เรวัติ  น้อยวิจิตร  นสพ.พลังชน  rewat.noyvijit@hotmail.com  081-9107445

โรงเรียนสุพรรณภูมิ แปรอักษรแสดงความอาลัยและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ



            นักเรียนโรงเรียนสุพรรณภูมิ กว่า 2 พันคน แปรอักษรแสดงความอาลัยและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช






              บริเวณสนามหน้าโรงเรียนสุพรรณภูมิ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี  นายจักรพรรดิ  จิตมณี  ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 1   เป็นประธานนำกล่าวสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  พร้อมตั้งสัตย์ปฏิญาณว่า จะตั้งมั่นเจริญตามรอยเบื้องพระยุคลบาทน้อมนำพระบรมราโชวาท ตลอดจนแนวพระราชดำริ และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การทำดีทั้งกาย วาจา ใจ โดยเฉพาะการศึกษา ทรงพระราชทานการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมเป็นพระราชดำริที่ทรงคุณค่าและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งที่ผ่านมาโรงเรียนในสังกัด สพฐ.1 จำนวน 138 โรง ได้จัดพิธีแสดงความอาลัยพร้อมทั้งการจัดนิทรรศการพระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  โดยครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคน น้อมรำลึกและยึดถือแนวพระราชดำรัสและพระราชดำริที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระราชทานมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตและประพฤติปฏิบัติงานเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติสืบไป







               ด้านนายชาญชัย  ดาบสมุทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนสุพรรณภูมิกล่าวเพิ่มเติมว่า คณะครู นักเรียน ชั้น ป.1 – ป.6  และผู้ปกครอง ร่วมพิธีแสดงความอาลัยด้วยน้อมสำนึกในพระมหากรุณธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ด้วยการแปรอักษรเป็น เลข ๙ และ ส.พ. รักพ่อหลวง ซึ่งหมายถึงสุพรรณภูมิรัก ในหลวงรัชการที่เก้า ทั้งนี้ โรงเรียนซึ่งประกอบผู้บริหาร ครู นักเรียนและผู้ปกครอง ได้น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการเรียนการสอนและต่อยอดไปถึงครอบครัว ส่งผลให้โรงเรียนได้ผ่านการประเมินหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งต่อจากนี้ไป ในฐานะที่เป็นครู จะปฏิบัติงาน  เพื่อประโยชน์  ของศิษย์ ตลอดจนสร้างความรัก ความสามัคคี พัฒนาการเรียนการสอนให้เด็กมีคุณภาพชีวิตที่ดีและเป็นคนดีของสังคมต่อไป








ศูนย์ข่าวท้องถิ่นออนไลน์ รายงาน
เรวัติ น้อยวิจิตร Hub Admin ศูนย์ข่าวท้องถิ่นออนไลน์ 081-9107445

วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง นำผู้บริหาร และบุคลากร วช. ทำบุญ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล




วันที่ 29 พฤศจิกายน 2559 เวลา 07.30 น.ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธาน นำผู้บริหาร และบุคลากร วช. ทำบุญบำเพ็ญกุศล เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ ห้องประชุมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ชั้น 2 อาคาร วช. 1














อนงค์วดี จีระบุตร ประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
เรวัติ  น้อยวิจิตร  นสพ.พลังชน  rewat.noyvijit@hotmail.com  081-9107445

พลโท วิษณุ ไตรภูมิ เป็นประธานเปิดงาน ปราชญ์ชาวบ้าน ๔ ภาค ประจำปี ๒๕๖๐




            พลโท วิษณุ ไตรภูมิ ผอ.ศปป.๑ กอ.รมน. เป็นประธานเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ  ปราชญ์ชาวบ้าน  ๔ ภาค เพื่อสนับสนุนการขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  ประจำปี ๒๕๖๐  ณ โรงแรมริเวอร์ จ.นครปฐม







            ๒๘  พฤศจิกายน ๒๕๕๙    พลโท วิษณุ ไตรภูมิ  ผู้อำนวยการ ศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ ๑ (ศปป.๑ ) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ( กอ.รมน. )  เป็นประธานเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ปราชญ์ชาวบ้าน ๔ ภาค เพื่อสนับสนุนการขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ประจำปี ๒๕๖๐ ณ โรงแรมริเวอร์ จังหวัดนครปฐม  โดยมีผู้เข้าร่วมการสัมมนา จำนวน ๒๐๐ คน การสัมมนา ครั้งนี้ มีกำหนด ตั้งแต่ วันที่ ๒๘-๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙











อำนวย เดชทองคำ ศูนย์ข่าวท้องถิ่นออนไลน์ รายงาน
เรวัติ น้อยวิจิตร Hub Admin ศูนย์ข่าวท้องถิ่นออนไลน์ 081-9107445

วช.ร่วมกับ 3 หน่วยงานพัฒนาระบบโลจิสติกส์สาธารณสุข



สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ร่วมกับ 3 หน่วยงาน พัฒนาระบบโลจิสติกส์สาธารณสุข หวังสร้างมาตรฐานการบริหารจัดการข้อมูลยาให้เกิดความรวดเร็ว ปลอดภัย และประหยัดงบประมาณ ตอบสนองนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล


วันนี้ (28 พ.ย.59) ดร. วิภารัตน์ ดีอ่อง รองเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ลงนามข้อตกลงความร่วมมือด้านวิชาการและการวิจัยด้านการศึกษาวิจัย เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบโลจิสติกส์โครงสร้างพื้นฐาน และระบบบูรณาการข้อมูลสารสนเทศและแนวทางการริเริ่ม Big Data ด้านสาธารณสุขสำหรับเศรษฐกิจดิจิตอลประเทศไทย ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัย มหิดล และสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) ณ โรงแรมมารวย การ์เด้น โดยมีศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ร่วมเป็นสักขีพยาน เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยมีการบริหารจัดการยาและเวชภัณฑ์ในลักษณะต่างฝ่ายต่างทำ ขาดการบูรณาการข้อมูลร่วมกัน ทำให้มีต้นทุนที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นหากเชื่อมโยงฐานข้อมูลให้เป็นระบบเดียวกันในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ จะช่วยลดค่าใช้จ่ายการบริหารจัดการยาและเวชภัณฑ์ ลดความผิดพลาดจากการจ่ายยา และสามารถตรวจสอบได้ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลทิศทางงานวิจัยของชาติ ได้เห็นความสำคัญเรื่องนี้ จึงสนับสนุนทุนวิจัยโครงการฯ โดยร่วมมือกับ 3 หน่วยงานดังกล่าวพัฒนาระบบโลจิสติกส์สาธารณสุข เพื่อให้ได้งานวิจัยที่ตรงเป้าหมาย มีคุณภาพ เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติ


ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวแสดงความยินดีกับความร่วมมือของ 4 หน่วยงาน พร้อมระบุว่า ข้อมูลคลังยาเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะเป็นประโยชน์กับผู้บริโภค โดยเฉพาะเรื่องความถูกต้องและประหยัด ซึ่งความร่วมมือครั้งนี้คงมิใช่เพียงแค่ความเข้าใจ แต่ต้องนำไปสู่การปฏิบัติและประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง


ด้านศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์อุดม คชินทร อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า มหาวิทยาลัยมหิดลมีความเชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์ และได้รับการสนับสนุนจาก วช. อย่างต่อเนื่อง หากความร่วมมือระหว่าง 4 หน่วยงานครั้งนี้สำเร็จ จะเป็นต้นแบบใช้ทั่วไปในระบบสาธารณสุข ทำให้ระบบบริการมีความโปร่งใสและคล่องตัว


ดร. วิภารัตน์ ดีอ่อง

เช่นเดียวกับเภสัชกรอำนวย พฤกษ์ภาคภูมิ นายกสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) เชื่อว่า ระบบโลจิสติกส์สาธาณสุขจะทำให้การบริหารจัดการยาและเวชภัณฑ์ง่ายขึ้น และมีข้อมูลในการวางแผนด้านยาที่เชื่อมโยงถึงกันได้ สามารถตอบสนองได้ทุกหน่วยงาน หากระบบสมบูรณ์จะช่วยเชื่อมโยงถึงผู้ป่วยกรณีการแพ้ยาประเภทต่าง ๆ ได้ด้วย


ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ผู้ทรงคุณวุฒิ กล่าววว่า ความร่วมมือครั้งนี้แสดงให้เห็นว่างานวิจัยสามารถนำไปใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม เช่น ช่วยให้ทราบเรื่องคลังเก็บสำรองยา การจ่ายยาให้คนป่วย เป็นต้น ซึ่งเป็นการบูรณาการฐานข้อมูลร่วมกัน การทำงานเช่นนี้ ต้องมีนักวิจัย วิศวกร เภสัชกร และแพทย์ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันจัดทำระบบ และเมื่อสำเร็จก็จะนำประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจยุคดิจิทอล หรือ 4.0 หมายถึงการใช้รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์มาพัฒนาระบบเศรษฐกิจ ช่วยให้ประชาชนกินดีอยู่ดีขึ้น





จำนงค์ ศรัณยพิพัฒน์ เครือข่ายประชาสัมพันธ์ วช.
เรวัติ น้อยวิจิตร Hub Admin ศูนย์ข่าวท้องถิ่นออนไลน์ 081-9107445
............................