วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เชียงใหม่ วช.เปิดอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อยกระดับการเลี้ยงผึ้งและผลิตภัณฑ์ผึ้งสู่สากล

 




สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. นำงานวิจัยยกระดับการจัดการมาตรฐานฟาร์มผึ้ง และผลิตภัณฑ์ผึ้งสู่ระดับสากล 



รองศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล รองอธิการบดีฝ่ายแผนงาน บริหารการเงินและทรัพย์สิน มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ เป็นประธานเปิดอบรมเชิงปฎิบัติการ มาตรฐานการเลี้ยงผึ้งและการถ่ายทอดเทค โนโลยีที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ผึ้ง ซึ่ง วช.จัดขึ้น ณ โรงแรมแคนทารี ฮิลล์ จังหวัดเชียงใหม่ วันนี้ (13 พ.ย.58) โดยนำงานวิจัย ที่ให้ทุนสนับสนุนแก่รองศาสตราจารย์ ดร.ภาณุวรรณ จันทวรรณกูร และคณะ แห่งคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชัยงใหม่ ที่ศึกษาวิจัยเทคโนโลยีใหม่สำหรับอุตสาหกรรมผึ้งและผลิตภัณฑ์ผึ้ง จนได้โปรตีนไหมผึ้งในการนำมาเป็นส่วนประกอบเพื่อพัฒนาและประยุกต์ใช้ในระดับอุตสาหกรรม เช่น การแพทย์หรืออุตสาหกรรมอาหาร รวมทั้ง เวชสำอางต่าง ๆ การศึกษาสารสกัดในการยับยั้งเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคเริม โดยพบว่า นมผึ้งจากผึ้งแคระ ผึ้งหลวง และผึ้งที่อยู่ในโพรงสามารถยับยั้งอนุภาคไวรัสก่อโรคเริมได้โดยตรง นอกจากนี้ ยังได้ศึกษาเกี่ยวกับเซรามิกรูพรุนมาเป็นวัสดุทางเลือกในการบรรจุสารสกัดจากสมุนไพรในการควบคุมไรผึ้ง


 

ทั้งนี้ หากอุตสาหรรมผึ้งพัฒนาไปได้ดี ก็จะนำไปสู่เชิงพาณิชย์ เนื่องจากผึ้งไม่ใช่เพียงแค่อาหาร แต่ยังสามารถพัฒนาเป็นยาและเป็นอาหารเสริมที่ปัจจุบันคนส่วนใหญ่นิยมรับประทานกัน การอบรมเกี่ยวกับการยกระดับอุตสาหกรรมผึ้งครั้งนี้ นอกจากเป็นการช่วยชาวบ้านในการยกระดับการเลี้ยงผึ้งแล้ว ยังเป็นการสร้างองค์ความรู้ในอุตสาหกรรมผึ้ง ที่ผู้เข้าร่วมอบรมจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ปฎิบัติจริง รวมทั้งในเชิงวิขาการ เพื่อประยุกต์ใช้ ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งจะส่งผลดีต่อประเทศและนำไปสู่ระดับสากล






วช.ตระหนักถึงความสำคัญของงานวิจัยนี้จึงได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการดังกล่าว โดยมีวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้ง และผู้ประกอบการได้ทราบถึงภาพรวมของมาตรฐานฟาร์มผึ้งในระดับสากลสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปยกระดับมาตรฐานของฟาร์มและสถานประกอบการ รวมทั้งนำความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ผึ้งไปใช้ เป็นอาหารและยา ตลอดจนเพิ่มมูลค่าของสินค้าเพื่อยกระดับมาตรฐานสินค้าของชุมชน โดยการใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ผึ้งและ สมุนไพรพื้นบ้านซึ่งเป็นวัตถุดิบในประเทศ ผู้เข้าอบรม ประกอบด้วย บุคลากรจาก หน่วยงานวิจัยต่างๆ เกษตรกร และผู้ประกอบการ จำนวน 300 คน






จำนงค์ ศรัณยพิพัฒน์ คณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ วช.
   เรวัติ  น้อยวิจิตร  สุพรรณบุรีนิวส์  rewat.noyvijit@hotmail.com  08-1910-7445

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น