วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2561

พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำเขื่อนกระเสียว จ.สุพรรณบุรี



             รองนายกรัฐมนตรี  ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำเขื่อนกระเสียว หลังปริมาณน้ำในเขื่อนเหลือ 35% ยืนยันไม่มีน้ำเพียงพอหนุนทำนาปรังกว่า 8 หมื่นไร่   ขอหน่วยเกี่ยวข้องเตรียมแผนรับมือพร้อมแจ้งเตือนเกษตรกรล่วงหน้า แต่มั่นใจการจัดสรรน้ำอุปโภค-บริโภคไม่กระทบ เหตุกลุ่มผู้ใช้น้ำเข้มแข็ง ยกเป็นโมเดลทางรอดช่วงแล้ง







              พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ จ.สุพรรณบุรี ตรวจเยี่ยมการบริหารจัดการน้ําฤดูแล้ง ปี 2561/62 ที่อ่างเก็บน้ำกระเสียว ต.ด่านช้าง อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี. ในวันนี้(17 ต.ค.61) เพื่อพบเกษตรกร กลุ่มผู้ใช้น้ำที่บริเวณสันเขื่อนกระเสียว พร้อมกล่าวว่า จากการลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำเขื่อนกระเสียว หลังปริมาณน้ำในเขื่อนเหลือ 35%   ซึ่งมีน้ำไม่เพียงพอสำหรับการทำนาปรังที่มีจำนวนกว่า 8 หมื่นไร่    แต่ขอให้เกษตรกรมั่นใจการจัดสรรน้ำอุปโภค-บริโภคไม่กระทบแน่นอน  เพราะกลุ่มผู้ใช้น้ำที่เขื่อนกระเสียวมีความเข้มแข็ง  ซึ่งเตรียมยกให้เป็นโมเดลทางรอดช่วงแล้ง จีงถือโอกาสเน้นย้ำทุกหน่วยงาน เตรียมมาตรการลดผลกระทบความเสียหายให้เหลือน้อยที่สุดไว้ล่วงหน้า โดยการทำงานเชิงรุกในการคาดการณ์สภาพอากาศ วางแผนช่วยเหลือพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภัยแล้ง และสร้างการรับรู้ให้กับประชาชน/เกษตรกร และขับเคลื่อนแผนอย่างบูรณาการ โดยเน้นย้ำการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งต้องขอชื่นชมคณะกรรมการจัดการชลประทานโครงการ หรือ คณะกรรมการ JMC ของเขื่อนกระเสียว มีความเข้มแข็งมากโดยเห็นได้ชัดเจนในปี 2558/59 ซึ่งเขื่อนกระเสียวมีน้ำน้อยมาก แต่สามารถบริหารจัดการน้ำได้เป็นอย่างดี โดยขอความร่วมมือเกษตรกรผู้ใช้น้ำในการงดทำการเกษตรทั้งพื้นที่ ทำให้มีน้ำอุปโภคบริโภค และน้ำรักษาระบบนิเวศ ผ่านวิกฤตแล้งไปได้ นับเป็นแบบอย่างการบริหารจัดการน้ำโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่นำไปขยายผลสู่พื้นที่อื่นๆ ที่อาจจะต้องประสบปัญหาในช่วงฤดูแล้งเช่นเดียวกัน






                ทั้งนี้ นอกจากการบริหารจัดการน้ำ ต้องสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อจัดสรรน้ำที่มีอยู่ตามความเร่งด่วนตามลำดับ ได้แก่ น้ำอุปโภคบริโภค น้ำรักษาระบบนิเวศ น้ำเพื่อการเกษตร/อุตสาหกรรม และ อื่นๆ แล้ว ต้องหาวิธีการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน ได้แก่ การใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ การผันน้ำ การขุดเจาะบ่อบาดาล การจัดรถขนส่งน้ำ และ การปฏิบัติการฝนหลวง ขณะเดียวกันในระหว่างที่เกิดวิกฤตแล้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมให้คำแนะนำช่วยเหลือเกษตรกร ให้หลีกเลี่ยงการทำการเกษตรที่ไม่ได้ผล และมีทางเลือกในการทำการเกษตรที่ใช้น้ำน้อย หรือประกอบอาชีพอื่นๆ ที่ทดแทนรายได้ รวมถึงกระทรวงมหาดไทยที่จะให้การช่วยเหลือดูแลประชาชนในพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำ ซึ่งอาจจะพิจารณานำแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรในฤดูแล้งปี 2558/59 มาดำเนินการปรับใช้ด้วย




                 เกษตรกรสุพรรณบุรี ยินดี หลัง รองนายกรัฐมนตรี ยก เขื่อนกระเสียว” เป็นโมเดลทางรอดช่วงแล้ง ด้วยการมีส่วนร่วมภาคประชาชน มีเกษตรกร กลุ่มผู้ใช้น้ำพร้อมด้วยคณะกรรมการจัดการชลประทานโครงการ หรือ คณะกรรมการ JMC ของเขื่อนกระเสียว รอต้อนรับ พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ จ.สุพรรณบุรี ในโอกาส เดินทางมาตรวจเยี่ยมการบริหารจัดการน้ําฤดูแล้ง ปี 2561/62 ที่อ่างเก็บน้ํากระเสียว. พร้อม ยกให้เขื่อนกระเสียว” เป็นโมเดลทางรอดช่วงแล้ง ด้วยการมีส่วนร่วมภาคประชาชน โดย นายสว่าง  ภูผา ประธานคณะกรรมการ JMC กล่าวในนามตัวแทนเกษตรกรผู้ใช้น้ำ ว่า ซึ่ง นับเป็นความภาคภูมิใจของเกษตรกรที่ภาครัฐให้ความสนใจ ซึ่งที่ผ่าน การบริหารจัดการน้ำของสุพรรณบุรี ได้มีการทำในรูปของคณะกรรมการ JMC  ซึ่งสามารแก้ปัญหาการแย่งการใช้น้ำของเกษตร ซึ่งมีการประชุมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ร่วมกันคิดหาแนวทางการแก้ไขให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีหน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมแก้ปัญหาแบบบูรณาการร่วมกัน ซึ่งทำให้การจัดสรรน้ำในสุพรรณบุรีทั้งเพื่อการเกษตร และเพื่ออุปโภค - บริโภค ไม่มีผลกระทบ





                 ด้านนายนิมิต วันไชยธนวงศ์  ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี  พร้อมกล่าวเพิ่มเติมว่า จังหวัดสุพรรณบุรี ประสบปัญหาความแห้งแล้งเนื่องจากมีปริมาณฝนตกน้อยหรือฝนไม่ตกเป็นระยะเวลานานหรือฝนทิ้งช่วง ส่วนใหญ่เกิดบริเวณพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทานและพื้นที่การเกษตรที่อยู่บริเวณที่ลาดเชิงเขา ไม่มีแหล่งเก็บกักน้ำอยู่ในบริเวณใกล้เคียง ทางด้านทิศตะวันตกของจังหวัดสุพรรณบุรี บริเวณอำเภอ ด่านช้าง อำเภอ        หนองหญ้าไซ อำเภอเดิมบางนางบวช อำเภอดอนเจดีย์ และอำเภออู่ทอง และมีพื้นที่บางส่วนในเขตชลประทานที่ได้รับผลกระทบเนื่องจากปริมาณน้ำต้นทุนมีไม่เพียงพอ จากข้อมูลพื้นที่ประสบภัยแล้งในอดีตที่ผ่านมา พบว่าจังหวัดสุพรรณบุรีมีพื้นที่  เสี่ยงภัยแล้งสูง 303 หมู่บ้าน  เสี่ยงปานกลาง 300 หมู่บ้าน และเสี่ยงต่ำ 405 หมู่บ้าน 35 ชุมชนในปี 2561/2562 คาดว่าจะมีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำ ดังนี้ 1. น้ำเพื่ออุปโภคบริโภค ในพื้นที่ 5 อำเภอ 53 หมู่บ้านได้แก่ อำเภอด่านช้าง อำเภอดอนเจดีย์ อำเภอหนองหญ้าไซอำเภอเดิมบางนางบวช และอำเภออู่ทอง  2. น้ำเพื่อการเกษตร ในพื้นที่ 4 อำเภอ 18 ตำบล ได้แก่ อำเภอเดิมบางนางบวช  อำเภอด่านช้าง อำเภอหนองหญ้าไซ และอำเภอสามชุก พื้นที่เพาะปลูกที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ นาข้าว จำนวน 89,008 ไร่ พืชอื่นๆ 4,300 ไร่ ไร่อ้อย 164,051 ไร่ ประมง   301 ไร่ ปศุสัตว์ 2,009,436 ตัว   อย่างไรก็ตาม เชื่อมั่นว่าคณะกรรมการ JMC จะมีส่วนช่วยการบริหารตัดการน้ำได้เป็นอย่างดี


 


เกรียงไกร ก่อเกียรติตระกูล บรรณาธิการข่าว 
เรวัติ น้อยวิจิตร Hub Admin rewat.noyvijit@hotmail.com 081-9107445

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น