ร่างกายเราประกอบด้วยน้ำ 2/3 ส่วน น้ำจึงจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของเรามาก ในวันหนึ่งเราควรจะดื่มน้ำให้ได้วันละ 2 ลิตร หรือประมาณ 8-10 แก้ว และเลือกดื่มน้ำสะอาด ก็จะทำให้เราปลอดภัยจากโรคติดต่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคบิด อุจจาระร่วง และอีกหลายๆ โรค
น้ำสะอาดหรือไม่สะอาด น้องๆ จะมีวิธีเลือกอย่างไร ง่ายๆ เลยค่ะ น้ำสะอาดต้องใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส และไม่มีแร่ธาตุที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเจือปน แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่า น้ำมีแร่ธาตุอะไรปะปนอยู่บ้าง แล้วจะหลีกเลี่ยงหรือป้องกันอย่างไร
มีผลการสำรวจพบว่า น้ำดื่ม 1,099 ตัวอย่างจากโรงเรียนทั่วประเทศ ไม่ผ่านเกณฑ์ความปลอดภัยมากถึง 62.53% เป็นน้ำดื่มทั้งในเขตชนบทและในเขตเมือง เมื่อตรวจสอบไปก็พบว่า น้ำประปาดื่มได้จะกลายเป็นน้ำอันตราย เพราะปัญหาจากเครื่องกรองน้ำ
การใช้เครื่องกรองน้ำประปา จะต้องหมั่นล้างเครื่องและเปลี่ยนไส้กรองตามระยะเวลาที่กำหนด แต่หลายที่ไม่เคยมีการล้างเครื่องกรองและเปลี่ยนไส้กรองเลย เลยกลายเป็นที่กักเก็บเชื้อโรคและสิ่งสกปรกแทน น้ำประปาที่ผ่านเครื่องกรองก็เลยกลายเป็นน้ำที่เต็มไปด้วยเชื้อโรค
นอกจากเรื่องของเชื้อโรคแล้ว ยังมีเรื่องน่ากลัวอีกคือ น้ำที่มีสารตะกั่วปนเปื้อน แล้วตะกั่วมาอยู่ในน้ำได้อย่างไร?
น้องๆ เคยสังเกตมั้ยคะว่า ในโรงเรียนเกือบทุกโรงจะมีตู้แช่น้ำเย็นสำหรับดื่ม แต่การเชื่อมต่อเพื่อประกอบเป็นตู้แช่ ท่อต่อน้ำไปยังก๊อกน้ำ รวมทั้งลูกลอย จะใช้ตะกั่วในการเชื่อม เมื่อน้ำประปาดีๆ เก็บกักในถัง... สารตะกั่วจะค่อยๆ ละลายผสมในน้ำ สารตะกั่วมีอันตรายต่อร่างกายมาก เพราะจะไปสะสมที่สมอง ทำลายสมอง และสะสมที่ไขกระดูก ทำให้การเจริญเติบโตของเด็กลดลง เมื่อสารตะกั่วสะสมในร่างกายแล้ว โอกาสที่ร่างกายจะขับออกมาได้ก็มีน้อยมากหรือแทบไม่ได้เลย
ดังนั้นคุณพ่อ คุณแม่ และคุณครู ต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตาดูแลในเรื่องนี้อย่างจริงจัง รวมทั้งตัวของน้องๆ เอง ถ้ารู้ว่าตู้แช่น้ำที่ใช้อยู่ไม่ปลอดภัยก็ต้องเลิกใช้ทันที และหันมาเตรียมน้ำดื่มบรรจุขวดไปดื่มที่โรงเรียนดีกว่า
การเลือกซื้อน้ำดื่มบรรจุขวดก็ไม่ยาก แค่ดูฉลากที่มีข้อความบอกชื่อน้ำดื่ม ผู้ผลิต สถานที่ตั้ง ปริมาตรสุทธิ เครื่องหมาย อย. และเลขทะเบียน ก็ถือว่าเป็นน้ำดื่มที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานและปลอดภัย น้องๆ ยังอาจจะสังเกตขวดที่ใส่น้ำว่าสะอาดหรือไม่ด้วย ถ้าเป็นขวดพลาสติกใส ก็ให้ดูว่าน้ำในขวดใส ไม่มีสี ไม่มีตะกอน เพียงเท่านี้ น้องๆ ก็จะได้ดื่มน้ำสะอาดและปลอดภัยแล้วค่ะ
UN ประกาศน้ำสะอาดเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน
สหประชาชาติประกาศให้การเข้าถึงน้ำสะอาดและสุขอนามัยเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ของมนุษย์ แต่กว่า 40 ประเทศแย้งสิทธิข้อนี้ไม่เคยปรากฏอยู่ในกฎหมายระหว่างประเทศ
วันพุธ ยูเอ็นลงมติดังกล่าวซึ่งไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย ด้วยเสียงสนับสนุน 122 ประเทศ ไม่มีประเทศใดคัดค้าน แต่มีอยู่ 41 ประเทศที่ของดออกเสียง
จากข้อมูลของยูเอ็นระบุว่า ปัจจุบันมีผู้ขาดแคลนน้ำดื่มสะอาดทั่วโลกราว 884 ล้านคน และอีกกว่า 2.6 ล้านคนไม่สามารถเข้าถึงสุขอนามัยขั้นพื้นฐานได้ นอกจากนี้แต่ละปียังมี เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบต้องตายจากโรคภัยที่เกี่ยวข้องกับน้ำและสุขอนามัยถึงกว่า 1.5 ล้านคน
โบลิเวียเสนอให้มีการลงมตินี้ โดยให้เหตุผลว่า สิทธิการเข้าถึงน้ำดื่มที่สะอาดและปลอดภัยรวมถึงสุขอนามัยด้านอื่นถือเป็น สิทธิขั้นพื้นฐานสำหรับชีวิตมนุษย์ทุกคนบนโลก
แคทารีนา เดอ อัลบูเก ทนายชาวโปรตุเกส มีกำหนดจะเสนอรายงานเกี่ยวกับกฎระเบียบของประเทศต่างๆ ที่เกี่ยวพันกับน้ำและสุขอนามัยต่อสภาสิทธิมนุษยชนยูเอ็นปีหน้า หลายประเทศจากกลุ่มพัฒนาแล้ว เช่น แคนาดา สหรัฐ อังกฤษ และออสเตรเลีย จึงงดออกเสียง เนื่องจากมองว่าการลงมติครั้งนี้ของยูเอ็นเป็นการดำเนินการตัดหน้าการเสนอ รายงานดังกล่าว ขณะที่ชาติยักษ์ใหญ่อย่าง จีน รัสเซีย เยอรมนี และฝรั่งเศส ยกมือสนับสนุน
หลายประเทศมองว่ามติของยูเอ็นยังขาดความชัดเจนในแง่ของขอบเขตความหมาย ต่างจากกลุ่มฟู้ดแอนด์วอเตอร์วอตช์ที่ออกมายกย่องว่าเป็นมติประวัติศาสตร์.
สหประชาชาติประกาศให้การเข้าถึงน้ำสะอาดและสุขอนามัยเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ของมนุษย์ แต่กว่า 40 ประเทศแย้งสิทธิข้อนี้ไม่เคยปรากฏอยู่ในกฎหมายระหว่างประเทศ
วันพุธ ยูเอ็นลงมติดังกล่าวซึ่งไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย ด้วยเสียงสนับสนุน 122 ประเทศ ไม่มีประเทศใดคัดค้าน แต่มีอยู่ 41 ประเทศที่ของดออกเสียง
จากข้อมูลของยูเอ็นระบุว่า ปัจจุบันมีผู้ขาดแคลนน้ำดื่มสะอาดทั่วโลกราว 884 ล้านคน และอีกกว่า 2.6 ล้านคนไม่สามารถเข้าถึงสุขอนามัยขั้นพื้นฐานได้ นอกจากนี้แต่ละปียังมี เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบต้องตายจากโรคภัยที่เกี่ยวข้องกับน้ำและสุขอนามัยถึงกว่า 1.5 ล้านคน
โบลิเวียเสนอให้มีการลงมตินี้ โดยให้เหตุผลว่า สิทธิการเข้าถึงน้ำดื่มที่สะอาดและปลอดภัยรวมถึงสุขอนามัยด้านอื่นถือเป็น สิทธิขั้นพื้นฐานสำหรับชีวิตมนุษย์ทุกคนบนโลก
แคทารีนา เดอ อัลบูเก ทนายชาวโปรตุเกส มีกำหนดจะเสนอรายงานเกี่ยวกับกฎระเบียบของประเทศต่างๆ ที่เกี่ยวพันกับน้ำและสุขอนามัยต่อสภาสิทธิมนุษยชนยูเอ็นปีหน้า หลายประเทศจากกลุ่มพัฒนาแล้ว เช่น แคนาดา สหรัฐ อังกฤษ และออสเตรเลีย จึงงดออกเสียง เนื่องจากมองว่าการลงมติครั้งนี้ของยูเอ็นเป็นการดำเนินการตัดหน้าการเสนอ รายงานดังกล่าว ขณะที่ชาติยักษ์ใหญ่อย่าง จีน รัสเซีย เยอรมนี และฝรั่งเศส ยกมือสนับสนุน
หลายประเทศมองว่ามติของยูเอ็นยังขาดความชัดเจนในแง่ของขอบเขตความหมาย ต่างจากกลุ่มฟู้ดแอนด์วอเตอร์วอตช์ที่ออกมายกย่องว่าเป็นมติประวัติศาสตร์.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น