วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

สุพรรณบุรี จัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ Field Day ปี 2561



           เกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี จัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่  Field Day  ปี 2561  ในวาระครบรอบ 50 ปี กรมส่งเสริมการเกษตร  ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) อำเภอด่านช้าง  หมู่ที่ 11 ตำบลหนองมะค่าโมง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี  โมี นายนิมิต  วันไชยธนวงศ์  ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี   ให้เกียรติเป็นประธานฯ























            วันที่ 24 พฤษภาคม 2561  นายไพฑูรย์ รื่นสุข เกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี พร้อมด้วย คณะผู้บริหารสำนักงานเกษตรจังหวัด  เกษตรอำเภอ และ เจ้าหน้าที่ ทุกฝ่าย ร่วมกันจัดงาน วันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่  Field Day  ปี 2561  ในวาระครบรอบ 50 ปี กรมส่งเสริมการเกษตร  ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) อำเภอด่านช้าง  หมู่ที่ 11 ตำบลหนองมะค่าโมง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี  โมี นายนิมิต  วันไชยธนวงศ์  ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี   ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธี ฯ













            โดยนาย นายไพฑูรย์ รื่นสุข เกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี กล่าวว่า    กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดร่วมกันจัดกิจกรรมวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่หรือที่เรียกว่า งานวัน Field Day เพื่อเปิดโอกาสให้เกษตรกร ได้รับทราบเทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ ช่องทางการตลาด แหล่งข้อมูล การเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม กับสภาพพื้นที่ของตนเอง ตลอดจนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเกษตรกรด้วยกันเอง รวมทั้งนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา ซึ่งเป็นตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆ ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หน่วยงานอื่นๆ และภาคเอกชน โดยมีสำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นหน่วยงานหลักในการจัดงาน Field day เป็นสัญญาณของการเริ่มต้นฤดูการผลิตใหม่ ที่เหมาะสม สำหรับปีการผลิต 2561/62



















         การจัดงานวัน Field Day ในวันนี้ กิจกรรมหลัก คือการลดต้นทุนการผลิตอ้อย และการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อย โดยมีฐานเรียนรู้ จำนวน 5 ฐาน ดังนี้

              ฐานเรียนรู้ที่ 1  เทคโนโลยีการให้น้ำหยดในไร่อ้อย
              ฐานเรียนรู้ที่ 2  การใช้พันธุ์อ้อยที่เหมาะสมในพื้นที่อำเภอด่านช้าง
              ฐานเรียนรู้ที่ 3  การใช้น้ำหมักชีวภาพ
              ฐานเรียนรู้ที่ 4  การควบคุมศัตรูพืชโดยชีวภาพ
              ฐานเรียนรู้ที่ 5  เศรษฐกิจพอเพียง 

        พร้อมกันนี้มีการให้บริการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ มีเกษตรกรเข้าร่วมงาน จำนวน 350 ราย
จากอำเภอใกล้เคียง การจัดงานในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี จากองค์การบริหารส่วนตำบล
หนองมะค่าโมง บริษัทเอกชน และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์





















         นายนิมิต  วันไชยธนวงศ์  ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี  ในฐานะประธานเปิดงาน กล่าวว่า  การดำเนินการของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร เป็นกลไกสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ และให้ความรู้แก่พี่น้องเกษตรกร ซึ่งหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนจะต้องร่วมกันดำเนินการให้สำเร็จตามเป้าหมาย เนื่องจากสถานการณ์การผลิตสินค้าเกษตรในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และมีการแข่งขันค่อนข้างสูงทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ในขณะเดียวกันพี่น้องเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย โอกาสการเข้าถึงข้อมูลแหล่งทุน ทรัพยากร และการตลาดมีน้อย และที่สำคัญที่สุด พี่น้องเกษตรกรยังทำการเกษตรในลักษณะต่างคนต่างทำขาดการรวมกลุ่มการผลิต จึงทำให้ยากต่อการจัดการผลผลิต และผลิตสินค้าเกษตรไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด

           













            จากสภาพปัญหาดังกล่าว รัฐบาลมีความตระหนักและเข้าใจในปัญหาที่พี่น้องเกษตรกรต้องเผชิญอยู่ จึงมีนโยบายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการจัดกิจกรรมต่างๆ ผ่านศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ซึ่งเป็นศูนย์ที่มีการสร้างกระบวนการเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับสินค้าหลักในพื้นที่และเหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ (Zoningโดยมีองค์ประกอบของศูนย์ ได้แก่ เกษตรกรต้นแบบ แปลงเรียนรู้ หลักสูตรการเรียนรู้ และฐานการเรียนรู้ สำหรับองค์ความรู้ ที่มีอยู่ในศูนย์เรียนรู้ฯ เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีที่หน่วยงานราชการส่งเสริม กับภูมิปัญญาของเกษตรกร และได้มีการประยุกต์ใช้ให้มีความเหมาะสมกับพื้นที่นั้นๆ

        















  






             กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ความสำคัญกับการผลิต ของเกษตรกร โดยมุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเกษตรกร จึงได้จัดให้มีกิจกรรมวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) ในวันนี้ เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยเตรียมความพร้อมของพี่น้องเกษตรกรก่อนเข้าสู่การเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ ปี 2561 โดยมีหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บูรณาการการทำงานร่วมกัน เพื่อสนับสนุนเกษตรกร
ใน  4  กิจกรรม ได้แก่

              - องค์ความรู้เพื่อวางแผนการผลิต
              - เข้าถึงปัจจัยการผลิต
              - บริหารจัดการความเสี่ยง
              - สร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกร 

       





















            จังหวัดสุพรรณบุรีได้กำหนดการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ ในวันนี้ เป็นการรับฟังปัญหาจากเกษตรกร และนำองค์ความรู้ที่เหมาะสมในพื้นที่ มาให้เกษตรกร ได้เรียนรู้ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในไร่นาของตนเอง  ในโอกาสนี้ กระผมขอขอบคุณทุกท่าน ทุกหน่วยงานที่ได้ร่วมกันจัดกิจกรรม และขอให้การจัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) ปี 2561 ในวาระครบรอบ 50 ปี กรมส่งเสริมการเกษตร ในวันนี้ สำเร็จตามวัตถุประสงค์ทุกประการ















         ด้าน นายสุรศักดิ์  ธัญญเจริญ  ประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี  ได้กล่าวขอบพระคุณท่านผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรีที่ให้เกียรติในวันนี้   พร้อมกล่าวว่า  ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร หรือ ศพก. อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบการผลิตอ้อย เพราะเกษตรกรในพื้นที่ตําบลหนองมะค่าโมง ร้อยละ 90  ส่วนใหญ่ปลูกอ้อย เพราะเป็นพื้นที่เหมาะสมกับการปลูกอ้อย (S1) แต่เป็นพื้นที่นอกเขตชลประทาน อาศัยน้ำฝนในการทำการเกษตร 100 เปอร์เซ็นต์ ผลผลิตต่อไร่ต่ำ ขาดแคลนพันธุ์อ้อยที่เหมาะสมในพื้นที่ ต้นทุนการผลิตสูง  ราคาปุ๋ยและสารเคมีแพง  ศพก. จึงมีแนวทางการพัฒนา ดังนี้ จัดทำแปลงสาธิตระบบน้ำหยด ทดสอบพันธุ์อ้อยและขยายพันธุ์อ้อยขอนแก่น 80 ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ  โดยกำหนดการลดต้นทุนให้ได้ไร่ละ  500  บาท  ปัจจุบันเกษตรกรมีการรวมกลุ่ม
ในรูปแบบแปลงใหญ่ เพื่อจำหน่ายผลผลิตอ้อยให้ได้ราคาสูงขึ้น
         









            ศพก. อ.ด่านช้าง จึงกำหนดประเด็นเป็นต้นแบบการผลิตอ้อย คือ การลดต้นทุนการผลิตอ้อย และการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อย เพื่อให้มีเกษตรกรมาใช้บริการศึกษาความรู้ และนำไปขยายผลในไร่ของตนเอง  ในโอกาสนี้ ผมในฐานะประธาน ศพก. อ.ด่านช้าง หวังเป็นอย่างยิ่งว่าโอกาสในวันนี้ คือ โอกาสที่ดีของพี่น้องเกษตรกรของอำเภอด่านช้าง และอำเภอใกล้เคียงที่มารับความรู้ก่อนที่จะเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ เพื่อจะได้นำไปปฏิบัติจริงได้ในแปลงของตนเอง ผมคิดว่าเป็นประโยชน์กับพี่น้องเกษตรกรอย่างแท้จริง






           หลังพิธีเปิดงาน ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี นายนิมิต  วันไชยธนวงศ์ ได้เยี่ยมชม บูทจัดแสดงนิทรรศการ ทั้งหมด พร้อมซักถาม ในรายละเอียด จนเป็นที่พอใจ และ เดินทางกลับ 












           จากนั้น เป็นการบรรยายพิเศษ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อดิศักดิ์ บ้วนกียาพันธุ์ จากภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. หรือ ทิดบ้วน บางปลาม้า นักจัดรายการวิทยุ คลื่นข่าว FM 100.5 Mhz  และ รายการโทรทัศน์  MCOT  อย่าง ทิดบ้วนชวนคุย และ คลีนิคเกษตร  โดยใช้เวลา ประมาณ 2 ชั่วโมงเศษ สร้างความรู้ พร้อม ความสนุกสนาน ให้กับ เกษตรกร ได้อย่างดีเยี่ยม













            หลัง จบรายการบรรยายพิเศษ ของ ทิดบ้วน บางปลาม้า เป็นการ  แยกเกษตรกร เข้าฐานเรียนรู้ ทั้ง 5 ฐาน ได้แก่ ฐานเรียนรู้ที่ 1  เทคโนโลยีการให้น้ำหยดในไร่อ้อย  ฐานเรียนรู้ที่ 2  การใช้พันธุ์อ้อยที่เหมาะสมในพื้นที่อำเภอด่านช้าง  ฐานเรียนรู้ที่ 3  การใช้น้ำหมักชีวภาพ   ฐานเรียนรู้ที่ 4  การควบคุมศัตรูพืชโดยชีวภาพ และ ฐานเรียนรู้ที่ 5  เศรษฐกิจพอเพียง  ซึ่งนับเป็น การเริ่มต้น วันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ Field Day ประจำปี 2561  ที่ดีเยี่ยม ที่สุด ก่อนร่วมรับประทานอาหารร่วมกัน

























             นอกจากนี้  นายไพฑูรย์ รื่นสุข เกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี พร้อม  นายมานะ จิวสิทธิประไพ
นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทน เกษตรอำเภอด่านช้าง  ยังได้เชิญชวน ภาคเอกชน มาออกบูท จัดแสดงสินค้า และ กลุ่มเกษตรกร มาออกร้าน จำหน่ายสินค้า โอทอป  ให้กับเกษตรกร  พร้อมนำกล้าพันธุ์ไม้  ลูกพันธุ์ปลาตะเพียนชาว จากสำนักงานประมงน้ำจืด จังหวัดสุพรรณบุรี มาแจกจ่ายให้กับเกษตรกร อีกด้วย









             กำนันธนพงศ์  จันทร์สุวรรณ   กำนันตำบลหนองมะค่าโมง  อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี  ให้ความเห็นว่า การจัดงาน วันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ Field Day ปี 2561  ครั้งนี้ ถือเป็นการเริ่มต้นของปีการผลิต ที่ดี และ มีประสิทธิภาพ เนื่องจากว่า  ชาวบ้าน ทั้ง 21 หมู่บ้าน โดยเฉพาะเกษตรกรชาวไร่ ได้มาแลกเปลี่ยน เรียนรู้ กับ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่มีความรู้เรื่องงานเกษตร โดยเฉพาะสำนักงานเกษตรจังหวัด และ วิทยากร ที่จัดมาให้ เพื่อเสริมความรู้ ให้มีเพิ่มมากยิ่งขึ้น ตรงประเด็นมากขึ้น  การปลูกพืช ในปัจจุบัน เกษตรกร ต้องมีความรู้ และ งานในวันนี้ ถือเป็นงานทางวิชาการ ที่เป็นแหล่งรวมความรู้ ที่หาไม่ได้อีกแล้วที่ไหน ที่จะครบถ้วน ในทุกเรื่อง เหมือนวันนี้  จึุงถือเป็นความโชคดี ของเกษตรกร ในโอกาส ครบรอบ 50 ปี กรมส่งเสริมการเกษตร ถือเป็นการเสริมความรู้  ให้แก่เกษตรกร ได้มีความรู้ที่ดี เพื่อให้เกิดความมั่นใจ ในฤดูการผลิตของปีนี้  ต้องขอขอบคุณแทนชาวบ้าน ที่สำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี ทำให้เกิดงานวันนี้ขึ้นครับ
















 ศูนย์ข่าวท้องถิ่นออนไลน์  รายงาน
เรวัติ  น้อยวิจิตร  Hub Admin rewat.noyvijit@hotmail.com  081-9107445

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น