วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2561

สุพรรณบุรี ชาวบ้านจระเข้สามพัน อ.อู่ทอง 15 หมู่บ้าน ชุมนุม คัดค้านโรงไฟฟ้าชีวมวล



               ชาวบ้าน ต.จรเข้สามพัน อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี 15 หมู่บ้าน ชุมนุมคัดค้านการสร้างโรงงานไฟฟ้าชีวมวล หวั่นเกิดอันตราย และมีมลพิษทางอากาศทำลายสุขภาพ ขณะที่โรงงานเริ่มถมดินเพื่อดำเนินก่อสร้าง








                ที่ ห้องประชุมสำนักงานเทศบาลตำบลจรเข้สามพัน ต.จรเข้สามพัน อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี มีชาวบ้านรวม 15 หมู่บ้าน  มารวมตัวกันคัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวล ของบริษัท อู่ทองกรีนพาวเวอร์ จำกัด     โดย นายสงัด ปัถวี รองเลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน (สปช.)และคณะ พร้อมด้วยนายพิภพ   บุญธรรม  รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ร่วมประชุม กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สมาชิกชิกเทศบาลตำบลจรเข้สามพัน ตัวแทนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน  เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาการร้องเรียน กรณีการจัดตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวลฯ ซึ่งมีตัวแทนบริษัท อู่ทองกรีนพาวเวอร์ จำกัด รายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมพร้อมรายงานผลการศึกษาดังกล่าวให้หน่วยงานที่เกี่ยวของรับทราบทุกประการ และได้ดำเนินการขออนุญาตก่อตั้งโรงงานดังกล่าวอย่างถูกต้องตามกฎหมายทุกขั้นตอน  ขณะที่ นายชัยชนะ  ศรีเหรา  ตัวแทนกลุ่มชาวบ้าน  ลุ่มน้ำจระเข้สามพัน ได้เข้าร่วมรับฟังพร้อมชีแจงถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น  โดยมลพิษทางอากาศเรื่องฝุ่นละออง ประชาชนกว่า 4,000 ครัวเรือนในชุมชนจะได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากโรงไฟฟ้าชีวมวลที่จะดำเนินการตั้งอยู่ใจกลางชุมชน หากปล่อยให้มีการดำเนินการเสร็จแล้วก็ยากที่จะแก้ไขได้ ดังนั้นจึงรวมกันคัดค้านมาโดยตลอด และ ชาวบ้านยืนยันจะรวมตัวกันคัดค้านให้ถึงที่สุด เนื่องจากเป็นห่วงลูกหลานในอนาคตที่จะได้รับความเดือดร้อน โดยมีการยื่นแผนพัฒนาตำบลจรเข้สามพันและของดี มีคุณค่าในตำบลจรเข้สามพัน เชื่อมโยงเมืองโบราณอู่ทองอีกด้วย








              ภายหลังสิ้นสุดการประชุม นายสงัด ปัถวี รองเลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน (สปช.) ได้กล่าวกับผู้ชุมนุมว่า ผลการประชุมเกิดกัลยานมิตรที่ดี ขอให้ถือเป็นเรื่องที่ควรจดจำแม้จะมีข้อขัดแย้ง แต่ทุกฝ่ายได้มีโอกาสพูดคุย  ซึ่งสำงานตรวจเงินแผ่นดินยินดีรับฟังความเห็นจากทุกฝ่ายอย่างตรงไปตรงมาตามข้อเท็จจริง สำงานตรวนเงินแผ่นดินไม่สามารถบอกว่าหน่วยงานของรัฐทำถูกหรือไม่ถูกต้องอย่างไร  ขอฝากว่าปัญหาที่เกิดขึ้นอาจเกิดจากการสื่อสารที่ไม่ตรงกัน เราสามารถสื่อสารให้ตรงกันได้ ที่เหนือสิ่งอื่นใดคือ ถ้าหากทางโรงงานทำถูกต้องแล้ว ไม่มีผลกระทบอย่างชัดเจน เราจะมีทางออกอย่างเพื่อแก้ไขเรื่องดังกล่าวตามกติกา ที่ผ่านมาภาครัฐ ได้พยายามวางกติกาเพื่อให้เราอยู่ร่วมกันได้  ผู้ประกอบการมาทำโรงงานที่นี่ สิ่งแรกที่ต้องดูแล คือต้องศึกษาอย่างถ่องแท้ไม่ใช่ว่าตอนศึกษาผลออกมาดีแต่ความเป็นที่ตามมาเป็นอย่างไร  ซึ่งต่อจากนี้จะไปดูว่าทำถูกต้องหรือไม่ โดยจะนำหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องลงพื้นที่ตรวจสอบความถูกต้องต่อไป   ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ทหาร เจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง เข้าร่วมสังเกตการณ์ พร้อมกับดูแลความสงบเรียบร้อยด้วย


 

 




เกรียงไกร  ก่อเกียรติตระกูล  บรรณาธิการข่าว 
เรวัติ  น้อยวิจิตร  Hub Admin rewat.noyvijit@hotmail.com  081-9107445

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น