วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

พ.อ.นฤดล ท้าวฤทธิ์ ร่วมพิธีวันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี



            พ.อ.นฤดล ท้าวฤทธิ์ รอง ผบ.จทบ.ก.จ. นำคณะนายทหารร่วมพิธีถวายสักการะ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต ของสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี กาญจนบุรี









            วันที่ 18 ก.ค.58  พ.อ.นฤดล ท้าวฤทธิ์ รอง ผบ.จทบ.ก.จ. นำคณะนายทหารร่วมพิธีถวายสักการะ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต ของสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี กาญจนบุรี










           

     พระราชประวัติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

     
             สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เดิมชื่อ สังวาลย์ ตะละภัฏ ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๔๔๓  ทรงเป็นบุตรคนที่ ๓ ของพระชนกช ู และ พระชนนีคำ ทรงมีพระภคินี และพระเชษฐา ๒ คนซึ่งได้ถึงแก่กรรมตั้งแต่เยาว์วัย เหลือแต่พระอนุชา คือ คุณถมยา ซึ่งอ่อนกว่าพระองค์ ๒ ปี พระชนกชู มีอาชีพเป็นช่างทอง เป็นบุตรคหบดี ชื่อ ชุ่ม มีเชื้อสายสืบจากผู้ดีเก่าแถวตึกขาว มีนิวาสสถานอยู่ใกล้ ๆวัด อนงคารามพระชนกชูได้ถึงแก่กรรมตั้งแต่ทรงพระเยาว์มาก และพระชนนีคำถึงแก่กรรมเมื่อพระองค์มีพระชนมายุ เพียง ๙ พรรษา หลังจากนั้นพระองค์ทรงอยู่ในความอุปการะของป้าซ้วย พี่สาวของพระชนนีคำ ซึ่งมีอาชีพรับจ้างมวนบุหรี่ และทำขนมขาย

           พระชนนีคำเป็นผู้มีคุณสมบัติพิเศษในการอ่านและรู้หนังสือ จึงได้นำความรู้นี้มาสอนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งเปรียบเสมือนรากฐานสำคัญที่ได้ผลักดันให้พระองค์ทรงก้าวสู่การศึกษา ขั้นสูงขึ้นต่อไป ด้วยพระอุปนิสัยที่ชอบการเรียนรู้ และการอ่านหนังสือตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีจึงทรงเฉลียวฉลาด ญาติของครอบครัวพระชนกชู มาแนะนำพระชนนีคำให้นำสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ไปฝากคุณจันทร์ แสงชูโต ซึ่งเป็นญาติ และเป็นพระพี่เลี้ยงของ สมเด็จเจ้าฟ้า วไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสรินธร พระเชษฐภคินีของสมเด็จพระบรมราชชนก และพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เพื่อถวายตัวเป็นข้าหลวง ด้วยพระชนมายุเพียง ๗-๘ พรรษา ต่อมาพระองค์ถูกส่งไปศึกษา ที่โรงเรียนสตรีวิทยา โดยประทับอยู่บ้านคุณหวน หงสกุล ข้างวัดมหรรณพาราม ระหว่างประทับอยู่ที่บ้านคุณหวน พระองค์ทรงถูกเข็มเย็บผ้าตำฝ่าพระหัตถ์ ต้องเข้ารับผ่าตัดกับพระยาดำรงแพทยกุล (ฮวด วีระไวทยะ)

           สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงตัดสินพระทัยเข้าโรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์ และหญิงพยาบาลแห่งศิริราช เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๖  ตามคำชักชวนของพระยาดำรงแพทยกุล หลังจากสำเร็จการศึกษา ทรงได้รับการคัดเลือกให้ทรงไปศึกษาวิชาพยาบาล ที่สหรัฐอเมริกา พร้อมกับนางสาวอุบล ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ ขณะนั้นกำลังทรงศึกษาวิชาแพทย์ ปีที่ ๑ ที่โรงเรียนแพทย์มหาลัยฮาร์วาร์ด ทรงพบ และพอพระทัยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในพระศิริโฉมงดงาม พระอุปนิสัย และพระคุณสมบัติอื่นๆ จึงทรงมีลายพระหัตถ์กราบบังคมทูลสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ซึ่งเป็นพระราชมารดา ขอพระราชทานพระราชานุญาตหมั้นกับนางสาวสังวาลย์ และมีพิธีอภิเษกสมรสที่วังสระปทุม เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๐ กันยายน ๒๔๖๓ หลังจากอภิเษกสมรสแล้ว สมเด็จพระบรมราชชนนีได้ตามเสด็จ สมเด็จพระบรมราชชนกไปประพาสเมืองต่างๆ ในทวีปยุโรป และเสด็จไปสหรัฐอเมริกา เพื่อทรงศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และสถาบันเอ็มไอที เมืองบอสตัน และทรงให้สมเด็จพระบรมราชชนนี เรียนหลักสูตรเตรียมพยาบาลที่วิทยาลัยซิมมอนส์ เมืองบอสตัน

           หลังจากสมเด็จพระบรมราชชนกทรงจบการศึกษา ทรงเสด็จที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ สมเด็จพระบรมราชชนนี ได้ประสูติพระราชธิดาพระองค์แรก เมื่อ ๖ พ.ค.๒๔๖๖ ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "หม่อมเจ้ากัลยาณิวัฒนา มหิดล" ภายหลังทรงได้รับการสถาปนาพระอิสริยศักดิ์เป็น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๘ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

           ในเดือน ต.ค.๒๔๖๖ เสด็จกลับเมืองไทยพร้อมด้วยพระราชธิดาเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระบรมราชชนกทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรม มหาวิทยาลัย ประทับอยู่ประมาณ ๒๐ เดือน สมเด็จพระบรมราชชนกทรงประชวร แพทย์ถวายคำแนะนำให้ประทับในที่อากาศเย็น สมเด็จพระบรมราชชนนีจึงได้ตามเสด็จ สมเด็จพระบรมราชชนกและพระราชธิดาไปประทับที่เมือง ไฮเดลเบอร์ก ประเทศเยอรมันดี สมเด็จพระบรมราชชนนี ได้ประสูติพระราชโอรสพระองค์แรก เมื่อ ๒๐ ก.ย.๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระนามว่า “หม่อมเจ้าอานันทมหิดล”

          ในวันที่ ๒๕ พ.ย.๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต สมเด็จพระบรมราชชนกเสด็จกลับกรุงเทพฯ เพียงพระองค์เดียว เพื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพ และประทับอยู่จนถึงพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ.๒๔๖๙ สมเด็จพระราชชนก ทรงนำครอบครัวไปประทับที่เมืองบอสตันสมเด็จพระบรมราชชนกได้ทรงเรียนแพทย์ที่ มหาลัยฮาร์วาร์ด ส่วนสมเด็จพระบรมราชชนนีได้ทรงเรียนวิชาจิตวิทยาการทำอาหาร และโภชนาการที่วิทยาลัยซิมมอนด์ระยะหนึ่ง สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้ประสูติพระราชโอรสองค์ที่สอง ณ โรงพยาบาลเมาท์ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ เมื่อ ๕ ธ.ค.๒๔๗๐ ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า ” พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช”

        ขณะที่ทรงศึกษาวิขาแพทย์ปีสุดท้าย สมเด็จพระบรมราชชนกทรงประชวรโรคพระวักกะกำเริบ และพระโรคหวัด แต่ทรงสามารถสอบได้ปริญญาแพทยศาสตร์ขั้นเกียรตินิยม หลังจากสอบเสร็จ ประชวรพระโรคไส้ติ่งอักเสบ ต้องรับการผ่าตัด เมื่อหายประชวรทั้งสองพระองค์ได้พาพระราชโอรสธิดาเดินทางกลับประเทศไทย โดยประทับที่พระตำหนักใหม่สร้างขึ้นในวังสระปทุม ด้านถนน พญาไท ใน เม.ย.๒๔๗๒ สมเด็จพระบรมราชชนกทรงรับเชิญเป็นแพทย์ประจำบ้าน จากโรงพยาบาลแมคคอร์มิก ที่เชียงใหม่ ในเดือนต่อมา ทรงเสด็จกลับกรุงเทพฯ หลังจากนั้นทรงพระประชวรอยู่ประมาณ ๔ เดือนก็สิ้นพระชนม์เมื่อ ๒๔ ก.ย.๒๔๗๒ ณ พระตำหนักใหม่ วังสระปทุม

          เมื่อสมเด็จพระบรมราชชนกสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระบรมราชชนนี มีพระชนมายุเพียง ๒๙ พรรษา ทรงรับหน้าที่อบรม เลี้ยงดูพระราชโอรสธิดาทั้งสามพระองค์ตามลำพัง เมื่อ ๒๔ มิ.ย.๒๔๗๕ คณะราษฎรก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงแนะนำให้สมเด็จพระบรมราชชนนีพาพระราชนัดดา เสด็จไปศึกษาต่อยังเมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

          เมื่อ ๒ มี.ค.๒๔๗๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสละราชสมบัติ ในการประชุมสภาผู้แทนราฎร ได้มีมติเห็นชอบตามกฎมณเฑียรบาลให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล เป็นพระมหากษัตริย์ สืบพระราชสันตติวงศ์ เป็นพระองค์ที่ ๘ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อ ๒ มี.ค.๒๔๗๗ ขณะนั้นมีพระชนมายุ ๙ พรรษาสภาผู้แทนราษฎรได้มีมติตั้ง พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์  พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เป็นคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เพื่อให้สมพระเกียรติของพระราชปิโยรส สมเด็จพระบรมราชชนนีจึงต้องทรงย้ายไปประทับที่บ้านเช่าค่อนข้างใหญ่ ณ เมืองปุยยี อยู่ใกล้เมืองโลซาน ทรงตั้งชื่อว่า “วิลล่าวัฒนา” สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงเอาพระทัยใส่ ดูแลพระอนามัย และระเบียบวินัย ของพระราชโอรสธิดาอย่างดีเยี่ยมและสม่ำเสมอ








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น