วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

สระบุรี โรงเรียนเทศบาล 3 ร่วมสืบสานประเพณี ลอยกระทง 58




           เมื่อ 25 พ.ย. 58 นายสมชาย  ม่วงไทย ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล3 (วัดบ้านอ้อย) และคณะอาจารย์ ครู นักเรียน และชาวชุมชน บ้านอ้อย ร่วม จัดงานสืบสานประเพณีลอยกระทง จัดประกวดหนูน้อยนพมาศ จัดขบวนแห่ กระทง ลงท่าน้ำ ลำน้ำป่าสัก  วัดบ้านอ้อย จัดให้มีพิธีการขอขมาแม่น้ำเพื่อสืบทอดประเพณีอันดีงานของไทยเพื่อให้เยาวชน รู้อัตลักษณ์วัฒนธรรมไทย และประเพณีลอยกระทงของไทยได้อย่างถูกต้องเป็นตัวอย่าง พร้อมนำไปใช้ได้ในอนาคต






             ตามความเชื่อในตำนานของวันลอยกระทงมีด้วยกันหลายประการ แต่หลักๆแล้วมีอยู่ 2 ประการ ที่เป็นจุดประสงค์หลักของการลอยกระทงที่ชาวไทยเราทำกันทุกๆ ปี โดยมีความเชื่อที่ว่า เพื่อบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บางท้องที่ถือว่าลอยกระทงเพื่อบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเนื่องในโอกาสที่พระพุทธองค์ได้ไปแสดงธรรมในนาคพิภพ และทรงประทับรอยพระบาทไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำ นัมมทานที เพราะฉะนั้นการที่บ้านเรามีประเพณีลอยกระทง ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสองก็เพื่อบูชาพระสัมมาสัมพุทธ เจ้าเนื่องในโอกาสนี้






             ส่วนทางเหนือนั้นมีประเพณียี่เป็ง มีทั้งลอยกระทงและลอยโคมขึ้นไปบนท้องฟ้าเพื่อบูชาพระเขี้ยวแก้วของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งบรรจุอยู่ในจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เราจึงจุดประทีป ลอยโคม ส่งใจขึ้นไปบูชาพระเขี้ยวแก้วร่วมกับพระอินทร์ที่นำหมู่เทวดาบูชาพระเขี้ยวแก้วที่จุฬามณีในวันเพ็ญเดือนสิบสองนี้เช่นกันและอีกความเชื่อ เพื่อบูชาพระแม่คงคา เป็นการแสดงการขอบคุณน้ำ เพราะมนุษย์เราอยู่ได้เพราะน้ำ ตั้งแต่โบราณมาชุมชนทั้งหลายเวลาสร้างเมือง ต่างก็เลือกติดแม่น้ำ ดังนั้นถึงเวลาในรอบ 1 ปี ก็เลือกเอาวันเพ็ญเดือนสิบสอง ระลึกว่าตลอดปีที่ผ่านมา เราได้อาศัยน้ำในการดำรงชีวิต ขณะที่ลอยกระทงเราก็นึกถึงคุณของน้ำ ไม่ใช่ลอยเฉยๆต้องรำลึกว่าต้องรู้จักใช้น้ำอย่างถูกวิธี และใช้น้ำอย่างคุ้มค่า ไม่ใช้ทิ้งขว้าง ไม่ทำให้น้ำสกปรก ไม่ปล่อยของเสียลงแม่น้ำ เป็นการขอขมาและขอบคุณพระแม่คงคา ไม่ใช่เป็นการไหว้เทวดาพระแม่คงคาแต่อย่างใด แต่เป็นการแสดงการขอบคุณน้ำ ในฐานะที่เป็นผู้ให้ชีวิตเรา





               แต่ก็ยังมีความเชื่อของประเพณีลอยกระทงของคนแก่สมัยโบราณที่พูดว่า "ลอยทุกข์ ลอยโศก โรคภัยต่างๆ ไปกับกระทง" ซึ่งในความเชื่อของการลอยกระทงเพื่อลอยทุกข์ ลอยโศกนี้ คนโบราณเชื่อว่ากระทงที่ลอยออกไปจะนำพาทุกข์โศกโรคภัยออกไปเราได้ โดยจะมีการตัดเล็บ ผม และเงินใส่ลงไปในกระทง สิ่งเหล่านี้เป็นความเชื่อที่เป็นสิ่งที่ทำแล้วรู้สึกสบายใจ  ก่อนที่จะไปลอยกระทง เราก็ไปทำบุญที่วัดก่อน แล้วนำบุญนั้นมาอธิษฐานในคืนวันลอยกระทง ด้วยกุศลผลบุญนี้ขอให้ทุกข์โศกโรคภัยทั้งหลายออกไปจากใจของเราเอง







(คนธรรมดา  ม้าตัวเดียว)
เรวัติ น้อยวิจิตร hub admin rewat.noyvijit@hotmail.com 08-1910-7445

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น