วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ราชภัฎอยุธยา เตรียมบูรณะ " กุโบ ท่านเฉก " เพื่อเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์




             ดร.เกษม  บำรุงเวช อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา  เตรียมบูรณะ "กุโบ ท่านเฉก " เพื่อเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ เป็นจุดสักการะสำคัญของพี่น้องนักท่องเที่ยวที่นับถือศาสนาอิสลาม และเป็นที่เกาะเกี่ยวความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอิหร่าน และประเทศไทย



             เมื่อจันทร์ที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา  โดย ดร.เกษม  บำรุงเวช อธิการบดีฯ เป็นผู้ประสานงานจัดประชุมคณะกรรมการ (อย่างไม่เป็นทางการ) บูรณะ กุโบ ท่านเฉก โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม ๒๐ กว่าท่านจากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น มูลนิธิเจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด) สถานเอคอัครราชฑูตอิหร่าน ประจำกรุงเทพ กระทรวงการต่างประเทศ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา คณะกรรมการอิสลามจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา







               เพื่อให้กุโบท่านเฉกเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา    เป็นจุดสักการะสำคัญของพี่น้องนักท่องเที่ยวที่นับถือศาสนาอิสลาม และเป็นที่เกาะเกี่ยวความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอิหร่าน และประเทศไทย ที่ประชุมจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ ดังนี้






๑. เห็นชอบการปรับปรุงกุโบท่านเฉกทั้งภายใน และภายนอก รวมทั้งอาณาบริเวณรอบๆกุโบท่านเฉกอะหมัดให้มีความสง่างานสมเกียรติ โดยหวังให้เป็นสถานที่สำคัญสำหรับนักท่องเที่ยวอีกจุดหนึ่งของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวที่นับถือศาสนาอิสลาม
๒. เห็นชอบการจัดทำสารคดีที่เกี่ยวข้อง เพื่อแนะนำ และยกย่องเกียรติภูมิของท่านเฉกอะหมัด
๓. จัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมเปอร์เซีย เพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างเปอร์เซีย กับ ไทย




              มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา จะเป็นผู้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง จากทุกฝ่าย นำมาสังเคราะห์ข้อมูลเสนอที่ประชุมพิจารณาร่วมกันก่อนลงมือบูรณะอีกครั้ง



           ประวัติ เฉกอะหมัด  คูมี  ( เจ้าพระยาบวรราชนายก ) ปฐมจุฬาราชมนตรี




          ท่านเฉกอะหุหมัด เกิดเมื่อพุทธศักราช 2086 ณ ตำบลฎาอื่นเนะชาฮาร เมืองกุ่ม ประเทศอิหร่าน ( เปอร์เซีย )เป็นผู้นำศาสนาอิสลาม นิกายญะอฟารียะฮ์ อิษนา อะชัว ( เรียกในประเทศไทยว่า นิกายเจ้าเซ็น แต่ทั่วโลกเรียกกันว่า นิกายซีอ๊ะห์ ) คำว่า “ เฉก “ ที่ใช้นำหน้าชื่อ อะหุหมัด เป็นตำแหน่งที่มีฐานันดรศักดิ์สูงกว่าตำแหน่งหัวหน้าเผ่า หรือบุคคลผู้อาวุโสตามธรรมเนียมชาวอาหรับ ในเปอร์เซีย คำนี้หมายถึงนักศึกษาผู้คงแก่เรียนและทรงคุณวุฒิในการศึกษาพระคัมภีร์กูระอ่าน และเป็นบุคคลที่ครูบาอาจารย์ผู้เคร่งศาสนาในเมืองคูนยกย่องว่าเป็นผู้เหมาะแก่การเคารพและให้เกียรติ จึงได้รับหน้าที่ให้เข้ามาเผยแพร่ศาสนาและตั้งสถานีหรือด่านการค้าในประเทศไทย
           ท่านเฉกอะหุหมัด ภายในระยะเวลาเพียงสิบปี ศาสนาอิสลามนิกายเจ้าเซนและกิจการค้าระหว่างประเทศ ก็ได้เป็นปึกแผ่นแน่นหนาในกรุงศรีอยุธยา ที่เป็นเช่นนี้ก็ด้วยความเป็นผู้ขยันขันแข็ง เป็นพ่อค้าที่ซื่อสัตย์ จนได้รับความไว้วางใจจากคนทั่วไป และเป็นผู้รักษาผลประโยชน์ทางการค้าของชาติมหาอำนาจชาติหนึ่งในสมัยนั้น จึงได้มีโอกาสเข้าเฝ้าสมเด็จพระเอกาทศรถ ( หลังการสิ้นพระชนของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ) และได้พบปะติดต่อปลูกฝังความสัมพันธ์เป็นมิตรไมตรีกับขุนนางชั้นผู้ใหญ่บางคนในพระบรมมหาราชวังทั้งในด้านสังคมและการพาณิชย์ โดยเฉพาะ จมื่นสรศักดิ์ ได้เป็นมิตรที่ให้ความช่วยเหลือเป็นอันดี จนเมื่อสมเด็จพระเอกาทศรถสิ้นพระชนม์ สมเด็จเจ้าฟ้าเสาวภาคย์ พระราชโอรสองค์ใหญ่ได้ขึ้นครองราชย์ ต่อมาเกิดกลียุคทางการเมือง เชื้อพระวงศ์ทั้งน้อยใหญ่ได้แตกกันเป็นหลายก๊กหลายเหล่า ต่างมีความทะเยอทะยานจะเป็นใหญ่ในแผ่นดินด้วยการแย่งราชสมบัติ จนทำให้ราชบัลลังก์เกิดความสั่นคลอนอ่อนแอลง 

            ในภาวะดังกล่าว ท่านเฉกอะหุหมัด ซึ่งเป็นนักสังเกตการณ์ทางการเมืองที่ฉลาดแหลมคม ได้ตั้งตนเป็นกลางโดยไม่ยอมเข้าข้างฝ่ายไหนอย่างออกนอกหน้า ด้วยการวางตนเช่นนั้น และด้วยจมื่นสรศักดิ์ ที่เป็นสหายผู้ใกลชิดและเป็นบุคคลสำคัญที่คบคิดให้เจ้าฟ้าศรีศิลป์ ซึ่งทรงผนวชอยู่ใหทรงลาสิกขาบทขึ้นครองราชย์ สืบต่อมา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม จมื่นสรศักดิ์ ยังเป็นผู้ควบคุมบังคับบัญชาการค้าต่างประเทศทั้งหมดของประเทศ ตลอดไปจนถึงงานด้านศุลกากร การต่างประเทศและการควบคุมชาวต่างประเทศด้วย อันเป็นการผูกขาดของแผ่นดินในสมัยนั้น

            ดังนั้นกิตติศัพท์ของท่านเฉกอะหุหมัด ได้ล่วงรู้ไปถึงเจ้าพระยาพระคลัง จนได้แต่งตั้งให้ท่านเฉกอะหุหมัด เป็นที่ปรึกษากับให้อำนาจในการปรับปรุงกิจการกรมท่า และตั้งระบบการเก็บภาษีอากรใหม่ เพื่อแก้ปัญหาเงินขาดคลังและการฉ้อราษฎร์บังหลวงในขณะนั้น จากการทุ่มเทการทำงานราชการแผ่นดิน จนเกิดผลดีแก่บ้านเมืองอย่างมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการหาเงินเข้าท้องพระคลัง สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื้อนตำแหน่ง เฉกอะหุหมัด ขึ้นเป็นพระยาอะหมัดราชเศรษฐี เจ้ากรมท่าขวา มีหน้าที่ควบคุมงานศุลกากร การต่างประเทศ และการชำระกรณีพิพาทในหมู่ชาวต่างประเทศ ยกเว้นชาวจีน การรั้งตำแหน่งเจ้ากรมท่าขวา ทำให้เฉกอะหุหมัด กลายเป็นคนสำคัญอันดับรองจากเจ้าพระยาพระคลังในกิจการด้านการเงินของประเทศ 

           เฉกอะหุหมัด สมรสกับสาวสวยชาวชนบทผู้หนึ่งมีชื่อว่า อบเชย ต่อมามีบุตร 2 คน ธิดา 1 คน บุตรคนหัวปีมีนามว่า ชื่น บุตรคนรองได้เสียชีวิตตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่น ส่วนธิดาคนเดียวมีชื่อว่า ชี นี่เป็นกิ่งก้าสาขาแขนงแรก  ในสมัยแผ่นดินพระเจ้าทรงธรรม ท่านเฉกอะหุหมัดเป็นผู้เจนจัดในด้านการค้ากับต่างประเทศ ได้ช่วยราชการแผ่นดิน โดยร่วมกับพระยาพระคลังปรับปรุงการกรมท่า ทำให้งานราชการด้านดังกล่าวเจริญก้าวหน้ามาก ความทราบถึงเบื้องพระยุคลบาท จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ   แต่งตั้งให้เป็นพระยาเฉกอะหุหมัดรัตนราชเศรษฐี เจ้ากรมท่าขวาและว่าที่จุฬาราชมนตรีเป็นผู้ดูแลควบคุมชาวมุสลิมอีกด้วย


          “ จุฬาราชมนตรี ” ซึ่งเป็นตำแหน่งผู้นำฝ่ายอิสลามในประเทศไทยได้เริ่มขึ้นใน พ . ศ .2163 – 2171  เฉกอะหุหมัด คูมี ได้สิ้นชีพจากนั้นใน พ.ศ. 2202 เมื่ออายุได้ 88 ปี โดยมีบุตรชายคนหัวปี คือ เจ้าพระยาอภัยราชา ( ชื่น ) เป็นผู้รับตำแหน่งทุกตำแหน่งสืบต่อมรดกอันล้ำค่า ประการหนึ่งที่เฉกอะหุมัด คูมี ได้มอบให้ทายาทและลูกหลานผู้สืบวงศ์สกุลในเวลาต่อมาก็ คือ การอบรมสั่งสอนให้ทำการสนองพระเดชพระคุณพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ด้วยความซื่อสัตย์จงรักภักดี ไม่ยุ่งเกี่ยวส่งเสริมหรือคบคิดก่อการร้ายต่อแผ่นดิน คำสั่งสอนนี้เปรียบได้กับบัญญัติอันศักดิ์สิทธิ์ที่บุคคลผู้สืบสกุล ได้ยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดสืบต่อกันมาชั่วกาลนาน จนทำให้ผู้สืบสกุลได้รับความยกย่องนับถือจากสังคมคนทั่วไปจนกระทั่งทุกวันนี้


เฉกอะหมัด คูมี (เจ้าพระยาบวรราชนายก)
กรุงศรีอยุธยา สมัยศตวรรษที่ 17
Image
      ในการพรรณนาถึงชีวประวัติเฉกอะหมัด คูมี เห็นควรจะกล่าวเสียแต่แรกว่าท่านผู้นี้เป็นอัจฉริยบุคคลที่น่าทึ่งที่สุดผู้หนึ่งในประวัติศาสตร์สยาม แม้จะเป็นเพียงผู้อพยพจากแดนไกล แต่ เฉกอะหมัด คูมี ก็ได้ประกอบคุณงามความดีจนได้รับตำแหน่งหน้าที่ที่มีอำนาจและความรับผิดชอบอันสูงส่งในแผ่นดิน และได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณพระบรมมหากษัตริย์ไทยเป็นเวลาอันยาวนานถึงหกพระองค์
      เฉกอะหมัด คูมี ได้รับการจารึกในประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยาว่าเป็นรัฐบุรุษที่มีชื่อเสียงที่สุดในสมัยนั้น ท่านผู้นี้เป็นบรรพบุรุษของตระกูลที่ได้สร้างคุณงามความดีไว้ต่อแผ่นดินติดต่อกันมาอย่างไม่ขาดสาย นับจากต้นศตวรรษที่ 17 มาจนกระทั่งทุกวันนี้
      เพื่อให้เรื่องมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จึงเห็นเป็นการดีที่จะเริ่มต้นเรื่องนี้ด้วยการย้อนกลับไปกล่าวถึงวาระแรกที่ เฉกอะหมัด คูมี ได้เดินทางเข้ามายังประเทศไทย
      สมัยนั้นเป็นเวลาระหว่างทศวรรษสุดท้ายของแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ. 2133-2148) ซึ่งอาจตรงกับระยะหัวเลี้ยวหัวต่อที่ศตวรรษที่ 16 จะเปลี่ยนไปสู่ศตวรรษที่ 17 ได้มีเรือเปอร์เซียรูปร่างประเปรียวลำหนึ่ง ใช้ใบแล่นเอื่อยๆ ทวนกระแสน้ำที่ไหลนิ่งของแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นมาจากปากอ่าว หลังจากที่ได้ฝ่าคลื่นลมแรงจัดในทะเลด้วยความลำบากตรากตรำมาเป็นเวลานาน ผู้ที่อยู่บนเรือซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเดินทางเป็นบุรุษผู้หนึ่งที่มีชื่อว่า เฉกอะหมัด คูมี เขาเป็นคนเฉลียวฉลาด มีความคิดสุขุม มีความเข้าใจลักษณะคนอย่างล้ำลึก และพูดภาษาต่างๆ ได้ดีหลายภาษา เขาเป็นที่เคารพนับถือในหมู่มิตรสหายและพรรคพวกบริวาร ตอนนั้นคงมีอายุล่วงเลยวัยสามสิบไปเพียงไม่กี่ปี
Image      เขามีน้องชายคนหนึ่งชื่อ มหะหมัด ซาอิด ร่วมเดินทางมาด้วย ชายผู้น้องนี้มีความชำนาญในการเดินเรือ คงมีอายุต่ำกว่าสามสิบเล็กน้อย พี่น้องทั้งสองมีความใกล้ชิดกันมาก จึงได้ยอมร่วมชีวิตออกเดินทางผจญภัยโดยไม่รู้ว่าอะไรรออยู่เบื้องหน้าและโดยมิได้นึกฝันถึงอนาคตอันเหลือเชื่อที่รอตนและผู้สืบเชื้อสายโลหิตในภายหลัง บนเรือนอกจากพี่น้องทั้งสองแล้วก็ยังมีผู้ติดตามเฉกอะหมัด คูมี อีกหลายคน
      เรือได้ทอดสมอใกล้กับป้อมเพชรที่ตำบลท้ายคู ตรงที่แม่น้ำป่าสักบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาตำบลท้ายคู ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองฝั่ง ยาวฝั่งละประมาณ 3 กิโลเมตร แม่น้ำฝั่งตะวันตกมีราษฎรตั้งบ้านเรือนอยู่อย่างกระจัดกระจาย ส่วนฝั่งตะวันออกซึ่งเป็นที่ตั้งกรุงศรีอยุธยา มีวัดตั้งอยู่เรียงรายในระยะห่างๆ กัน ในตัวเมืองเต็มไปด้วยนักผจญภัยต่างด้าว นับจากนักเดินเรือไปจนถึงทหารอาสาประเภทรับจ้าง พ่อค้าวาณิช และนักพนันขันต่อ ซึ่งล้วนแห่กันมาแสวงหาชื่อเสียงและโชคลาภในประเทศที่แปลกตา แต่ไม่มีใครเลยสักคนที่ประสบความรุ่งโรจน์ในชีวิตเท่าเฉกอะหมัด คูมี ความจริงแล้ว สิ่งที่อำนวยให้เฉกอะหมัด คูมี ได้เลื่อนฐานะและตำแหน่งขึ้นสู่อำนาจและความยิ่งใหญ่ในชีวิต ส่วนหนึ่งก็มีเหตุมาจากพฤติกรรมของชาวต่างด้าวเหล่านี้บางกลุ่ม และการต้านทานที่เฉกอะหมัด คูมี สนองตอบความคิดร้านต่อแผ่นดินนั่นเอง เรื่องนี้จะได้กล่าวถึงอีกในตอนหลัง
      แผ่นดินในยุคนี้เป็นตอนที่กำลังได้รับความเดือดร้อนจากอิทธิพลต่างด้าว แม้ว่าพวกโปรตุเกส จะเป็นชาวต่างด้าวชาติแรกที่เข้ามาเริ่มการติดต่อกับประเทศสยาม เมื่อ พ.ศ. 2054 แต่อิทธิพลของพวกฝรั่งก็ยังไม่มีผลกระทบอันรุนแรงเท่าในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พวกดัตช์ได้เข้ามาเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2151 ติดตามด้วยพวกอังกฤษ อีกสี่ปีต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2155 แล้วก็ยังมีชาติอื่นๆ รวมทั้งเปอร์เซียซึ่งมีเฉกอะหมัดเป็นบุคคลสำคัญ
      เห็นควรกล่าว ณ ที่นี้ว่า เรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับชาวต่างด้าวในระยะแรกๆ ของกรุงศรีอยุธยา มีเหลือตกทอดมาในสมัยหลังกระท่อนกระแท่นเต็มที เพราะถูกพม่าเผาผลาญไปอย่างราบคาบเมื่อตอนเสียกรุงใน พ.ศ. 2310 แต่เคราะห์ดีที่ประวัติหลักฐานและบันทึกเหตุการณ์บางอย่างยังคงมีเหลืออยู่บ้างตามวัดต่างๆ เชื้อพระองค์บางองค์ ครอบครัวขุนนาง และบุคคลสำคัญบางคน ซึ่งมีสมบัติทางประวัติศาสตร์ดังกล่าวอยู่ในความครอบครอง จึงรอดพ้นจากภัยพิบัติที่กรุงต้องประสบไปได้ แม้ว่าหลักฐานต่างๆ ดังกล่าวจะกระท่อนกระแท่นไม่สมบูรณ์ แต่ก็พอยึดถือเป็นแนวทางที่แสดงให้เห็นว่าได้เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้างในสมัยที่เฉกอะหมัด คูมี ได้พุ่งขึ้นสู่อำนาจและอิทธิพล เหตุการณ์ดังกล่าวได้รับการผสมเพิ่มเติมอีกด้านหนึ่ง จากจดหมายเหตุของชนรุ่นก่อนที่กุฎีเจ้าเซ็นในอยุธยา ซึ่งได้รับการยืนยันความถูกต้องจากประเทศอิหร่าน
      เราได้ทราบว่า เฉกอะหมัด คูมี เกิดที่ศูนย์กลางศาสนาอิสลามปาสเน ชาฮาร์ อันมีชื่อเสียงในเมืองคูนประเทศเปอร์เซีย (หรืออิหร่านในสมัยนี้) เฉกอะหมัด คูมี ใช้ชีวิตในสมัยเยาว์วัยไปในการศึกษาเล่าเรียน เฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาพระคัมภีร์กูระอ่าน คำว่า “เฉก” ที่ใช้นำหน้าชื่อ อะหมัด เป็นตำแหน่งที่มีฐานันดรศักดิ์สูงกว่าตำแหน่งหัวหน้าเผ่าหรือบุคคลผู้อาวุโสตามธรรมเนียมชาวอาหรับ ในเปอร์เซียคำนี้หมายถึง นักศึกษาผู้คงแก่เรียนและทรงคุณวุฒิในการศึกษาพระคัมภีร์กูระอ่าน และเป็นบุคคลที่ครูบาอาจารย์ผู้เคร่งศาสนาในเมืองคูนยกย่องว่าเป็นผู้เหมาะแก่การเคารพและให้เกียรติ เพื่อเป็นการยอมรับถึงความสามารถและคุณวุฒิในการศึกษา เฉกอะหมัดจึงได้รับการมอบหมายให้มาปฏิบัติภารกิจสองประการควบคู่กันไปในประเทศสยาม ประการหนึ่งให้เป็นผู้นำศาสนาอิสลามนิกายญะอฟารียะฮ์ อิษนาอะชัร หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า นิกายซีอ๊ะห์ (เรียกกันในประเทศนี้ว่า นิกายเจ้าเซ็น) เข้ามาเผยแพร่ และอีกประการหนึ่งเพื่อมาตั้งสถานีหรือด่านการค้าในประเทศไทยImage
      เฉกอะหมัด ได้รับพระบรมราชานุญาตจากสมเด็จพระนเรศวรมหาราชให้จับจองที่ซึ่งมีทำเลเหมาะสองแห่ง แห่งหนึ่งเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย และอีกแห่งหนึ่งเพื่อใช้เป็นที่ประกอบศาสนกิจและการค้า
      เป็นการดีที่จะกล่าวในที่นี้เสียด้วยว่า ประเทศสยามเป็นดินแดนที่ได้แสดงความโอบอ้อมอารีต่อชนชาติอื่นทุกเชื้อชาติศาสนามาเป็นจารีตนับตั้งแต่สมัยโบราณกาล สำหรับเฉกอะหมัด คูมี นั้น ทั้งๆ ที่ได้ทรงแน่พระทัยเป็นอย่างดีว่า เข้ามาเพื่อโอนคนไทยให้หันไปถือศาสนาอิสลาม แต่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชก็ทรงต้อนรับบุคคลผู้นี้ด้วยความเมตตาปรานี ซึ่งเป็นนโยบายที่ผิดกันอย่างลิบลับกับดินแดนที่เรียกตนเองว่า อารยประเทศที่เจริญก้าวหน้าในยุโรปสมัยเดียวกัน ซึ่งเอาแต่กดขี่ข่มเหงคนต่างศาสนาและทำสงครามศาสนากันอยู่เป็นประจำ
      หลังจากที่ได้ตั้งหลักแหล่งในสยามเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เฉกอะหมัด คูมี ก็เริ่มงานเผยแพร่ศาสนาและการค้าอย่างตั้งอกตั้งใจ จนในเวลาเพียงสิบปีศาสนาอิสลามนิกายเจ้าเซ็น ก็ได้ฝังรากอย่างเป็นปึกแผ่นแน่นหนาในกรุงศรีอยุธยา ส่วนกิจการด้านการค้าก็เจริญก้าวหน้าไปด้วยดี ที่เป็นเช่นนี้ก็ด้วยความขยันขันแข็งอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยของเฉกอะหมัด คูมี นั่นเอง พร้อมๆ กับความเจริญก้าวหน้าในด้านการงาน เฉกอะหมัดยังมีชื่อเสียงว่าเป็นพ่อค้าที่มีความซื่อสัตย์ จนได้รับความไว้วางใจจากคนทั่วไป ในระยะเวลาช่วงนี้เองที่เฉกอะหมัด คูมี ได้สมรสกับสาวสวยชาวชนบทผู้หนึ่งมีชื่อว่า อบเชย ซึ่งมีบุตรธิดากับเฉกอะหมัด คูมี รวมสามคน สองคนเป็นชาย อีกคนหนึ่งเป็นหญิง บุตรชายคนหัวปีมีนามว่า ชื่น บุตรชายคนรองลงมาได้เสียชีวิตตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่น ส่วนธิดาเพียงคนเดียวมีชื่อว่า ชี นี่เป็นกิ่งก้านสาขาแขนงแรกของวงศ์ตระกูลเฉกอะหมัด คูมี

กรุงศรีอยุธยาในแผ่นดินสมเด็จพระเอกาทศรถ
      เนื่องมาแต่ฐานะที่เป็นพ่อค้าผู้มั่งคั่ง และผู้ดูแลผลประโยชน์ของชาติมหาอำนาจชาติหนึ่งในสมัยนั้น ในบางครั้งบางคราม เฉกอะหมัด คูมี จึงได้มีโอกาสเข้าเฝ้าสมเด็จพระเอกาทศรถ (หลังจากสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช) ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อทูลขอพระบรมราชานุญาตบางประการเกี่ยวกับการค้าและสิทธิที่พรรคพวกบริวารของตนพึงได้รับ จึงเป็นธรรมดาเหลือเกินในการเข้าเฝ้า ณ ที่ออกขุนนางดังกล่าว เฉกอะหมัด คูมี จะได้พบปะติดต่อและปลูกฝังความสัมพันธ์เป็นมิตรไมตรีกับขุนนางชั้นผู้ใหญ่บางคนในพระบรมมหาราชวัง ทั้งในด้านสังคมและการพาณิชย์ ขุนนางดังกล่าวท่านหนึ่ง ได้แก่ จมื่นสรศักดิ์ ข้าราชสำนักหนุ่มผู้มีนิสัยน่าคบ พูดจาสุภาพอ่อนโยน และมีความรอบรู้ทางอุบายการเมืองในพระบรมมหาราชวัง การณ์ปรากฏในเวลาต่อมา จมื่นสรศักดิ์ ได้เป็นมิตรที่ซื่อสัตย์ ผู้ให้ความช่วยเหลือเป็นอันดีแก่เฉกอะหมัด คูมี
      สิ่งสำคัญเกี่ยวกับจมื่นสรศักดิ์ ก็คือ ท่านผู้นี้เป็นอดีตมหาดเล็กของเจ้าฟ้าศรีศิลป์ ก่อนที่พระองค์จะทรงผนวช แล้วได้รับสมณศักดิ์เป็นพระพิมลธรรมแห่งวัดระแหง
      ในสมัยนั้น เชื้อพระวงศ์ทั้งน้อยใหญ่ได้แตกกันเป็นหลายก๊กหลายเหล่า ต่างก็มีความทะเยอทะยานจะเป็นใหญ่ในแผ่นดินด้วยการแย่งราชสมบัติ จนทำให้ราชบัลลังก์เกิดความสั่นคลอนอ่อนแอลง เฉพาะอย่างยิ่งในสมัยหลังการสวรรคตของสมเด็จพระเอกาทศรถ ในภาวะดังกล่าว เฉกอะหมัด คูมี ซึ่งเป็นนักสังเกตการณ์เล่นพรรคเล่นพวกทางการเมืองที่ฉลาดแหลมคม ได้ตั้งตนเป็นกลางโดยไม่ยอมเข้าข้างฝ่ายไหนอย่างออกนอกหน้า ด้วยการวางตนเช่นนั้น เฉกอะหมัด คูมี น่าจะดำรงชีวิตอย่างสุขสบายในฐานะนายวาณิชผู้ร่ำรวยและผู้นำแสงสว่างแห่งศาสนาอิสลามมาสู่สยามไปชั่วอายุขัย แต่การณ์หาได้เป็นเช่นนั้นไม่ ทั้งนี้อาจเป็นด้วยพระอะหล่าห์ อาจมีพระประสงค์อยากให้เฉกอะหมัด คูมี มีบทบาทในอนาคตของประเทศสยามที่ยิ่งใหญ่และสำคัญยิ่งไปกว่านั้น
      เมื่อสมเด็จพระเอกาทศรถสิ้นพระชนม์ พระโอรสองค์ใหญ่ได้ขึ้นครองราชย์แทน ทรงพระนามว่า สมเด็จเจ้าฟ้าเสาวภาคย์ ต่อมามินานก็เกิดกลียุคทางการเมือง สมเด็จเจ้าฟ้าเสาวภาคย์ทรงมีพระทัยอ่อนแอ จึงไม่สามารถปราบปรามผู้ทรยศต่อแผ่นดิน แล้วในที่สุดก็ถูกจับสังหาร พระอนุชาของพระองค์ก็ได้พยายามสืบกู้แผ่นดินต่อ แต่ก็ถูกกำจัดลงเช่นเดียวกัน

กรุงศรีอยุธยาแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
      เมื่อถึงตอนนี้ เจ้าฟ้าศรีศิลป์ซึ่งทรงผนวชมีสมณศักดิ์เป็นพระพิมลธรรมอยู่ก็ได้รับอัญเชิญให้ทรงลาสิขาบทขึ้นครองราชย์สืบต่อมา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พระองค์ทรงปกครองแผ่นดินด้วยความปรีชาสามารถ จาก พ.ศ. 2153 ถึง 2127
      ขอย้อนกล่าวถึงอดีตมหาดเล็กชื่อ จมื่นสรศักดิ์ อีกครั้งหนึ่ง เพราะเป็นบุคคลสำคัญที่คบคิดให้พระเจ้าทรงธรรมได้ขึ้นครองราชย์ ที่ต้องนำชื่อท่านผู้นี้มากล่าวอีกก็เพราะเป็นผู้ไว้วางใจของเจ้าพระยาพระคลัง ซึ่งนอกจากมีหน้าที่ในงานด้านการคลังแล้ว ยังเป็นผู้ควบคุมบังคับบัญชาการค้าติดต่อกับต่างประเทศทั้งหมดของประเทศ อันเป็นการผูกขาดของแผ่นดินในสมัยนั้น ตลอดไปจนถึงงานด้านศุลกากร การต่างประเทศและการควบคุมชาวต่างประเทศทั้งหมดในประเทศด้วย ดังได้กล่าวมาแล้ว จมื่นสรศักดิ์ผู้นี้ก็เป็นสหายผู้ใกล้ชิดของเฉกอะหมัด คูมี
      ดังนั้น จึงเป็นที่แน่นอนว่า กิตติศัพท์ของเฉกอะหมัด คูมี ในด้านการค้าการบริหารงาน และคุณสมบัติพิเศษประจำตัว คือ ความขยันหมั่นเพียร และความซื่อสัตย์จงรักภักดี คงล่วงรู้ไปถึงเจ้าพระยาพระคลัง เพราะอีกไม่นานต่อมา เจ้าพระยาพระคลังก็ได้แต่งตั้งให้เฉกอะหมัด คูมี เป็นที่ปรึกษาของท่านพร้อมกับให้อำนาจในการปรับปรุงกิจการกรมท่า และตั้งระบบการเก็บภาษีอากรใหม่ เพื่อแก้ปัญหาเงินขาดคลังและการฉ้อราษฎร์บังหลวง ซึ่งเกิดจากช่องโหว่ของระบบที่ใช้อยู่ในขณะนั้น
      ในเรื่องนี้ก็เช่นเดียวกัน เฉกอะหมัด คูมี ได้ทุ่มเทกำลังกายและกำลังใจให้กับงานราชการแผ่นดินอย่างซื่อสัตย์ขยันขันแข็ง จนเกิดผลดีแก่บ้านเมืองอย่างมากมาย เฉพาะอย่างยิ่งในด้านการหาเงินเข้าท้องพระคลัง เพื่อตอบแทนความดีความชอบในเรื่องนี้ สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนตำแหน่งเฉกอะหมัด คูมี ขึ้นเป็นพระยาอะหมัดราชเศรษฐี เจ้ากรมท่าขวา มีหน้าที่ควบคุมงานศุลกากร การต่างประเทศ และการชำระกรณีพิพาทในหมู่ชาวต่างประเทศ ยกเว้นชาวจีน การรั้งตำแหน่งเจ้ากรมท่าขวา ทำให้เฉกอะหมัด คูมี กลายเป็นคนสำคัญอันดับสองรองจากเจ้าพระยาพระคลัง ในกิจการด้านการเงินของประเทศ
Image
ขุนนางเปอร์เชีย ภาพจิตรกรรมฝาผนัง วัดโสมนัสวิหาร
      เมื่อเจ้าพระยาพระคลังถึงแก่อสัญกรรม เฉกอะหมัด คูมี ก็ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนั้นแทน สิ่งที่น่าชื่นชมยินดีในเรื่องนี้ก็คือ ตั้งแต่นั้นมาผู้ที่ได้รับตำแหน่งนี้สืบต่อมาล้วนเป็นผู้สืบสกุลเฉกอะหมัด คูมี ทั้งสิ้น โดยมีตำแหน่งที่เรียกติดต่อกันมาว่า เจ้าคุณกรมท่า จนกาลได้ล่วงเลยมาถึงเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม) ซึ่งเป็นผู้สืบเชื้อสายชั้นที่แปดของเฉกอะหมัด คูมี ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2418 ตำแหน่งศักดินาดังกล่าวจึงได้ถูกยกเลิกไป แล้วมีการสถาปนากระทรวงการต่างประเทศขึ้นแทน ตามหลักการปกครองสมัยใหม่
      นอกจากตำแหน่งดังกล่าวแล้ว เฉกอะหมัด คูมี ยังเป็นบุคคลแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้นำชาวมุสลิมในสยาม โดยมีตำแหน่งเรียกว่า เจ้าพระยาเฉกอะหมัดรัตนาธิบดี ซึ่งความเป็นมาจะได้กล่าวถึงในเวลาต่อไป
      การทดสอบความจงรักภักดีต่อแผ่นดินและหน้าที่ราชการครั้งสำคัญและยิ่งใหญ่ที่สุดของเฉกอะหมัด คูมี ได้เกิดขึ้นอย่างไม่มีใครคาดหมายจากชาวต่างประเทศที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารนั่นเอง กล่าวคือได้มีชาวต่างชาติกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่ง ประกอบด้วยอาสาสมัครญี่ปุ่นเป็นส่วนใหญ่ ได้ร่วมคบคิดกับชาวต่างชาติกลุ่มอื่นและข้าราชการไทยหลายคน ที่ใฝ่ฝันอยากเป็นใหญ่ด้วยการแย่งราชบัลลังก์ แต่นับเป็นบุญของบ้านเมืองที่แผนการร้ายนี้ได้ล่วงรู้ไปถึงเฉกอะหมัด คูมี เสียก่อน เฉกอะหมัด คูมี จึงได้รีบระดมชาวไทยมุสลิมเข้าปราบปรามพวกก่อการกำเริบลงได้อย่างราบคาบก่อนที่อีกฝ่ายหนึ่งจะทันรู้ตัว ด้วยความช่วยเหลือจากข้าราชการและทหารที่มีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ บ้านเมืองจึงได้กลับคืนเข้าสู่ความสงบเรียบร้อยอย่างรวดเร็ว โดยมิได้ก่อเรื่องแก่เบื้องพระยุคลบาท หรือพระราชอำนาจเหนือแผ่นดิน เพื่อเป็นบำเหน็จการบำเพ็ญความดีความชอบครั้งนี้ สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมจึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนพระยาเฉกอะหมัดราชเศรษฐี เป็นพระยาเฉกอะหมัดรัตนาธิบดี พร้อมด้วยตำแหน่งสมุหนายก อัครมหาเสนาบดีฝ่ายเหนือ และเจ้าคุณกรมท่าขวา (ซึ่งเทียบได้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพระคลังศุลกากร และการต่างประเทศ) นี่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สยามที่ชาวต่างประเทศผู้หนึ่งได้รับตำแหน่งอันสูงส่งเช่นนี้

กรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2171 – 2202
      หลังจากสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมเสด็จสวรรคต เจ้าพระยาเฉกอะหมัดรัตนาธิบดีก็ยังคงดำรงตำแหน่งเดิม และมีอิทธิพลในวงราชการสืบต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเชษฐาธิราช (พ.ศ. 2127-2173) สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ (ซึ่งครองราชย์ได้เพียง 36 วัน ก็ถูกปลงพระชนม์) และสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. 2173-2197) ในรัชกาลดังกล่าวแล้ว ประเทศสยามตั้งอยู่ในความสงบ ไม่มีการรบพุ่งกับประเทศเพื่อนบ้าน จึงเป็นโอกาสให้ประเทศได้รับการทำนุบำรุงให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น แม้บ้านเมืองจะพ้นภัยจากการย่ำยีจากภายนอก แต่ในพระราชสำนักเองก็ยังมีการคบคิดมิดีมิร้ายต่อราชบัลลังก์อยู่เช่นเดิม
      พึงสังเกตว่าตลอดเวลาในสมัยนั้น เฉกอะหมัด คูมี ยังคงดำเนินกิจการค้าสืบต่อมาจนได้กลายเป็นเศรษฐีใหญ่ มีชื่อเสียงในความซื่อสัตย์สุจริต และความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์สยามที่ตนรับใช้สนองพระเดชพระคุณทุกพระองค์ แม้จะยังคงนับถือศาสนาและถือเชื้อชาติเดิม
Image
อนุสรณ์สถานเฉกอะหมัด คูมี
      เจ้าพระยาเฉกอะหมัดรัตนาธิบดี ได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณพระมหากษัตริย์ไทยด้วยความซื่อสัตย์จงรักภักดีรวมด้วยกันหกพระองค์ เริ่มจากสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมจนถึงสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ด้วยความดีความชอบและความจงรักภักดีดังกล่าวแล้ว ในวัยชราเมื่อพ้นตำแหน่งราชการ เฉกอะหมัด คูมี จึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ จากสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ให้เลื่อนขึ้นเป็น เจ้าพระยาบวรราชนายก อยู่ในตำแหน่งจางวางกรมมหาดไทย ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน
      เฉกอะหมัด คูมี ได้สิ้นชีพไม่นานหลังจากนั้นใน พ.ศ. 2202 เมื่ออายุได้ 88 ปี โดยมีบุตรชายคนหัวปี คือ เจ้าพระยาอภัยราชา (ชื่น) เป็นผู้รับตำแหน่งทุกตำแหน่งสืบต่อมรดกอันล้ำค่า ประการหนึ่งที่ เฉกอะหมัด คูมี ได้มอบให้ทายาทและลูกหลานผู้สืบวงศ์ตระกูลในเวลาต่อมาก็คือ การอบรมสั่งสอนให้ทำการสนองพระเดชพระคุณพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ด้วยความซื่อสัตย์จงรักภักดี ไม่ยุ่งเกี่ยวส่งเสริมหรือคบคิดก่อการร้ายต่อแผ่นดิน คำสั่งสอนนี้เปรียญได้กับบัญญัติอันศักดิ์สิทธิ์ที่บุคคลผู้สืบสกุล เฉกอะหมัด คูมี ได้ยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดสืบต่อกันมาชั่วกาลนาน จนทำให้ตัว เฉกอะหมัด คูมี เองและผู้สืบสกุลได้รับความยกย่องนับถือจากคนทั่วไปจนกระทั่งทุกวันนี้

......................................................................

          ที่มา : อุทัย ภาณุวงศ์. ประวัติการสืบเชื้อสายของวงศ์ เฉกอะหมัด คูมี เจ้าพระยาบวรราชนายก ชาวเปอร์เซีย. (หนังสือถ่ายสำเนา)



Sheikh Ahmad Qomi (Chao Phraya Boworn Ratchanayok)

Krung Si Ayutthaya in the 17th Century

It is initially said that Sheikh Ahmad Qomi was one of the most prodigious and remarkable people in Siam (Thai) history. Although he was a migrant, Sheikh Ahmad Qomi had done goodness and virtue, and was promoted to a nobleman with power and high ranks. He also had taken responsibilities for the national affairs, and had worked for the government of six Thai kings.

Sheikh Ahmad Qomi was engraved in Ayutthaya history as the most famous state man of the time. He was the forefather of a family that has been doing goodness and virtue, counting from 17th century to the present days.

In order to make his biography complete, we should date back to the time that Sheikh Ahmad Qomi travelled to Thailand.
It was the last decade of King Naresuan’s reign (1590-1605), the connection between 16th and 17th century. There was a Persian ship sailing against the tide of the Chao Phraya River from its estuary after sailing endurably against waves and storm in the ocean. The man who controlled the ship was Sheikh Ahmad Qomi. He was wise, thoughtful, understood people and could speak many languages. He was about 30 years old, and was respected by his friends, accomplices and followers.

He had one younger borther named Mahamad Sa-id accompanying him. The younger brother was very skillful in navigating, and might have been under thirty years of age. Both of them were very close to each other, and risked their lives in fighting danger together. They did not know their future of having to settle down and pass their lineague in the new country. Apart from these two brothers, there were also a lot of Sheikh Ahmad Qomi’s followers.

The ship dropped its anchor near Pom Phet at Taikhu sub-district, the place where Pasak River and Chao Phraya River are connected. Tambol (sub-district) Taikhu was located on both sides of the Chao Phraya River about 3 kilometers on both sides. People’s houses were dissipated on the west bank, but the east bank was Krung Si Ayutthaya. There were temples along the bank, and in town, there were a lot of foreign adventurers: navigators, volunteer soldiers working for hire, merchants, and gamblers. All of them came to Ayutthaya, an appearing different city, for fortune and fame. But no one got glorious success like Sheikh Ahmad Qomi. One of the reasons that pushed Sheikh Ahmad Qomi to be promoted to higher positions and ranks of power and greatness was the bad behaviors of some foreigners and the ways Sheikh Ahmad Qomi did to oppose those foreigners who tried to get advantages over Krung Si Ayutthaya. All the details will be told later.

Krung Si Ayutthaya in this era was in trouble with foreign influences. Although the Portuguese were the first foreigners who came in contact with Siam (Thailand) in 1511, the foreign influence did not put a great impact on Thailand like in King Naresuan’s period. The Dutch firstly came into Thailand in 1608, then England. Four years later in 1612, some other nations came, followed by the Persian led by Sheikh Ahmad Qomi.

It reveals that the evidences about the foreigners in Ayutthaya are very rare because most of them were burnt when Ayutthaya was completely destroyed in 1767. Fortunately, some memoranda and evidences were found at temples, some people in the royal family, noblemen families, and some important people owning historical objects. Although all the evidences were not complete, it revealed incidents happening that pushed Sheikh Ahmad Qomi to the power and influences. The incidents were added with former generations’ chronicles at Kudi Chaosen in Ayutthaya which was recommended by Iran.

It was said that Sheikh Ahmad Qomi was born at the center of Islam at Pasne Sahar, a famous place at Khuunin Persia (Iran at present). Sheikh Ahmad Qomi spent his young life in learning, especially the study of Koran. The word “Sheikh” in front of Ahmad is a rank higher than leader of the group or seniority people according to Arab tradition. In Persian, the word means very knowledgeable students or scholars in Koran, and the people who were teachers and religious holders praised as ones to be respected and honored. Because of being accepted as a person with competency and education, Sheikh Ahmad Qomi was assigned to do two missions in alignment in Siam (Thailand). Firstly, he was the leader of Islam in the sect of Ya-afariyah Isanaasar or generally called See-ah (In Thailand, it is called Chao Sen) to propagate in Thailand, and secondly, he assigned to establish a commercial custom house in Thailand as well.
King Naresuan allowed Sheikh Ahmad Qomi to make a reservation on two pieces of land, one for a dwelling place, and the other for doing religious rites and trading.

It is a good occasion to say that Siam was the land of hospitality towards people of all origins and religions, and this has become a Thai tradition to the present. Although the King knew that Sheikh Ahmad Qomi aimed to persuade Thai people to hold Islam, he received him with warm hospitality which was completely different from the developed countries in Europe at the same time, who bullied the people with different religions and always committed religious wars.
After settling down in Siam, Sheikh Ahmad Qomi intendedly started publicizing Islam and trading in Ayutthaya. The trading had been progressed due to his diligence and hard-working. His business had been progressed due to his fame of honesty. He was trusted by general people. Later, he married a beautiful country girl named Obchoey, and had two sons and one daughter. The eldest son was Chuen. The second one was dead in his young age, and the daughter was Chee. This is the first branch of Sheikh Ahmad Qomi family.

Krung Si Ayutthaya in the reign of King Ekathosarot

On behalf of being a wealthy merchant and a treasurer of a powerful country during the time, Sheikh Ahmad Qomi had an opportunity to have audiences of King Ekathosarot (after King Naresuan being passed away) in the Royal Palace in order to ask permissions about his trading and rights that his followers should have obtained. In the royal hall, Sheikh Ahmad Qomi had many opportunities to contact and make good relationship with Thai noblemen in the royal palace, for both social and commercial contacts. One of the noblemen was Chamuen Sorasak who is associateable and generous. He also knew well about politics in the royal palace; for instance, Chamuen Sorasak had become Sheikh Ahmad Qomi’s honest friend and always helped him.

Chamuen Sorasak was important because once he was one of Prince Srisilp’s royal pages before the prince was ordained and had a Buddhist rank in the title of Phra Phimontham of Wat Rahaeng.

At this time, the Royal Family was divided into many groups. All of them were ambitious to have higher titles and positions and tried to struggle for the throne. As a result the monarchy became weaken, especially after the death of King Ekathosarot. In that situation, Sheikh Ahmad Qomi who had good vision knew how to behave himself, and was clever to indulge in infavoritism. He was neutral and did not associate with any groups. Although he behaved himself in good conditions and he should have continued his living happily, but the occurrence was contrast. That might have been because Allah wanted Sheikh Ahmad Qomi to play his roles for Siam future.

After King Ekathosarot passed away, his eldest son succeeded to the throne in the name “King Saowaphak (Somdet Chaofa Saowaphak)”. The new king was weak and could not suppress his enemies. Finally, he was captured and killed. His younger brother tried to succeed to the throne, but he was killed as well.
Krung Si Ayutthaya in the Reign of King Songtham

At this period, Prince Srisilp who was ordained and got the title of Phra Phimon Tham, was invited to leave the monkhood and went to the throne in the name of King Songtham (Somdet Phrachao Sontham). The King had reigned over Krung Si Ayutthaya with his great competence.

It should be reiterated to talk about a royal page named Chamuen Sorasak because he was the one who suggested inviting King Songtham to go to the throne. We have to mention his name because he trusted Chao Phraya Phrakhrang (The minister of treasury) who was not only in charge of treasury, but also controlled Siam (Thai) international trading, customs, foreign affairs, and also controlled foreigners in the country. Additionally, Chamuen Sorasak was Sheikh Ahmad Qomi’s close friend.

Therefore, it was certainly that Sheikh Ahmad Qomi’s fame was on his ability of trading management and his own special qualities: diligence and honesty. Chao Phraya Phrakhrang knew about Sheikh Ahmad Qomi’s fame, and later appointed Sheikh Ahmad Qomi to the rank of his consultant, and gave him authority to manage foreign affairs, and made new system of collecting taxes in order to prevent shortage of treasury and corruption which were happening at the time.
Sheikh Ahmad Qomi tried his best to work for government services with honesty and diligence.Those had made benefits to the country, especialy earning and keeping money to the king’s treasury. In order to remunerate Sheikh Ahmad Qomi’s merits, King Songtham promoted Sheikh Ahmad Qomi to the title of Phraya Ahmad Ratchasetthee, Chao Krom Tha Kwa (Head of the Department of Foreign Affairs), in charge of controlling the customs, foreign affairs, and negotiating when there was disputing between Thailand and other countries, but the exception was on Chinese people. Holding the rank of Chao Krom Tha Kwa made Sheikh Ahmad Qomi became the second after Chao Phraya Phrakhrang on doing the country’s money affairs.

Persian Noblemen in Paintings on the walls of Wat Somanat Wihan

When Chao Phraya Phrakhrang passed away, Sheikh Ahmad Qomi was promoted to the position. Remarkably, after that this position had been conveyed to members of Sheikh Ahmad Qomi’s family. The position was informally called with the other name “Chaokhun Kromtha”, and had been appointed until the time of Chao Phraya Phanuwong Mahakosathibodee (Tuam) who was the eighth generation of Sheikh Ahmad Qomi’s family in the reign of King Chulalongkorn, the fifth king of Rattanakosin. In 1875, Sakdina (Right to the possession of farmland) was cancelled; the Ministry of foreign Affairs was established in stead of Krom Tha according to the new system of governance.

Besides the position concerning foreign affairs, Sheikh Ahmad Qomi was the first man who was appointed as the leader of all Muslim in Siam (Thailand), and the title of the position was called “Chao Phraya Sheikh Amad Rattanathibodee”. The reason of his being promoted to the other rank will be mentioned below.
Sheikh Ahmad Qomi’s most loyalty to Siam and the government was proved enexpectedly when a group of foreign volunteers joining with a group of Japanese volunteers and some Thai officials who were very ambitious and wanted to get rid of the king in order to go to the throne. Fortunately, Sheikh Ahmad Qomi knew the plan. He called up Thai Muslim people, and suppressed the rebels before their initiation. The suppression was collaborated by some officials and some soldiers who were loyal to the king, and Siam became in peace again because of Sheikh Ahmad Qomi’s loyalty. In order to compensate Sheikh Ahmad Qomi’s merits, King Songtham was pleased to promote Sheikh Ahmad Qomi from the title of Phraya Sheikh Ahmad Ratchasetthee to the title of Chao Phraya Sheikh Ahmad Rattanathibodee in the position of Samuhanayok, Akhara Maha Senabodee Fai Nua (Comparing to the rank of a minister) and Chao Krom Tha Kwa (Comparing to the Minister of Treasury and Foreign Affairs). It was very rare in the Thai history that a foreigner would have got a very high position in Thai government affairs.

Krung Si Ayutthaya during 1628-1659

Chao Phraya Sheikh Ahmad Rattanathibodee was still in the same position after King Songtham passed away. He had sustained his official influences to the reign of King Chettha Thirat (1584-1630), King Athitayawong (reigning only 36 days and was assassinated) and King Prasat Thong (1630-1654). In the reigns mentioned before, Siam was in peace. There was no war. As a result, the country was nourished with glory. On the other hand, although there were no enemies from neighboring countries, the situations inside the court were still violent with struggling for the throne.

Remarkably, all the time that Sheikh Ahmad Qomi had continued doing his business until he became a great millionaire with the fame of being honest and paying his loyalty to all Siam kings. Additionally, he still held his beliefs of Islam and still held the origin of a Persian.
Sheikh Ahmad Qomi’s Memorial Place

Chao Phraya Sheikh Ahmad Rattanathibodee had worked to recompense the kindness of six Thai kings, beginning from King Songtham to King Narai. Because of his great merits and loyalty mentioned, in his old age after the retirement, King Prasat Thong was pleased to promote him to the title of Chao Phraya Boworn Ratchanayok in charge of an officer in the Department of Interiors and in the consultant position.

Sheikh Ahmad Qomi passed away in the age of 88 years old in 1659. His eldest son Chao Phraya Aphairacha was allowed to take all his positions. In addition, Sheikh Ahmad Qomi had conveyed to his receivers of the inheritance and his descendants with serving themselves to the following Thai kings with honesty and loyalty, and not harboring evil thoughts to the country. His teachings have been compared to holy regulations that Sheikh Ahmad Qomi’s descendants have performed from generation to generation. Because of this, Sheikh Ahmad Qomi was praised and honored by general people.
Reference
Phanuwong, Uthai. (Year not mentioned). Prawat Kansueb Chuasai khong Wong Sheikh 
Ahmad Qomi, Chao Phraya Boworn Ratchanayok, Chao Persia (History of a Persian,
Sheikh Ahmad Qomi, Chao Phraya Boworn Ratchanayok, and His Family). (A copied
book).


             เรวัติ น้อยวิจิตร พนังสือพิมพ์พลังชน   rewat.noyvijit@hotmail.com 08-1910-7445

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น