วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558

พ.ท.ปิยะเณศร์ ภัทรศาสวัตรวงษ์ นำกำลังพล ศึกษาดูงานการปลูกกะเพราเขียวใบใหญ่




            พ.ท.ปิยะเณศร์ ภัทรศาสวัตรวงษ์ ผบ.นฝ.นศท.จทบ.ก.จ. นำกำลังพล ศึกษาและ ดูงาน การปลูกกะเพราเขียวใบใหญ่  ณ บริษัท ซีพีแรม จำกัด








            วันที่ 16 มิ.ย.58 เวลา 1000- 1200 น. พ.ท.ปิยะเณศร์ ภัทรศาสวัตรวงษ์ ผบ.นฝ.นศท.จทบ.ก.จ. และ  กำลังพล ศึกษาและดูงาน การปลูกกะเพราเขียวใบใหญ่  ณ บริษัท ซีพีแรม จำกัด  ต.ระแหง  อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี







           กระเพรา ถือเป็นผักสวนครัวที่ได้รับความนิยมมากชนิดหนึ่ง เนื่องจากมีกลิ่นหอมแรง และให้รสเผ็ด เหมาะสำหรับนำมาประกอบอาหารโดยเฉพาะเมนูผัดกระเพรา และใส่ในอาหารจำพวกต้มยำต่างๆ
          กระเพรา ถือเป็นพืชล้มลุกอายุหลายปี ต้นแม่ต้นหนึ่งอาจมีอายุมากกว่า 5 ปี หากได้รับการดูแล ให้ปุ๋ย ให้น้ำเป็นประจำ ลำต้นมีลักษณะเป็นเหลี่ยม แตกกิ่ง และใบออกตามข้อ ใบจะแตกออกเป็นคู่ด้านซ้ายขวา ขอบใบเป็นเว้าเป็นร่องคล้ายฟันเลื่อย และมีขนปกคลุมใบ ใบกว้าง 3-5 ซม. ยาว 4-8 ซม. ขึ้นอยู่กับพันธุ์ ส่วนดอกแตกออกเป็นช่อหลายช่อมีลักษณะดอกคล้ายแมงลัก







         สายพันธุ์กระเพราอีกลักษณะหนึ่งซึ่งมักพบตามหัวไร่ปลายนาจะมีลักษณะใบเล็ก และมีขนมากกว่า ซึ่งจะมีกลิ่นหอมรุนแรง และให้รสเผ็ดมากกว่า บางครั้งชาวบ้านเรียกว่า กระแพรว นิยมปลูก และนำมารับประทานมากขึ้นในปัจจุบัน
การปลูก

         การปลูกกระเพรามีทั้งการปลูกเพื่อการขายในแปลงขนาดใหญ่ และการปลูกเพื่อรับประทานเองภายในบ้านที่อาจปลูกในแปลงดินที่ว่างขนาดเล็กหรือการปลูกในกระถาง ด้วยแยกกล้าปลูก และการหว่านเมล็ด ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้







1. การปลูกในแปลงขนาดใหญ่
การเตรียมกล้าพันธุ์
การเตรียมกล้าพันธุ์จะใช้วิธีการหว่านเมล็ดในแปลงเพาะกล้าตามขนาดปริมาณที่ปลูก ด้วยการไถหน้าดินให้ลึก พร้อมกำจัดวัชพืช และหว่านกล้าพันธุ์ลงแปลง หลังจากนั้นจะให้น้ำ 1-2 ครั้ง/วัน จนกล้าแตกใบแท้ 2-5 ใบ ก็ย้ายลงปลูกในแปลง
การเตรียมแปลง
– การปลูกในแปลงขนาดใหญ่มีทั้งรูปแบบแปลงยกร่อง และแปลงที่ไม่ยกร่องโดยควรมีขนาดแปลงกว้าง ประมาณ1.5-2.5 เมตร ความยาวตามความเหมาะสมของพื้นที่
– ไถดะกลบวัชพืช และตากหน้าดินนาน 5-10 วัน ขึ้นอยู่กับชนิดดิน
– ทำการหว่านปุ๋ยหมัก ปุ๋ยมูลสัตว์ ในอัตรา 500 กก./ไร่ ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ในอัตรา 10-30 กก./ไร่ หรือใช้ปุ๋ยคอกรองพื้นอย่างเดียว
– ทำการไถกลบอีกรอบ พร้อมกำจัดวัชพืช และตากดินประมาณ 1 สัปดาห์ หรืออาจน้อยกว่า
วิธีการปลูก
– ย้ายต้นกล้า โดยควรให้มีดินติดรากมาด้วย และควรปลูกทันทีเมื่อมีการถอนย้าย
– ระยะที่ปลูกในระหว่างแถว และหลุมปลูก ที่ 20-40 x 20-40 เซนติเมตร หากปลูกเพื่อการค้ามักปลูกในระยะถี่ขึ้น เช่น 20-30 x 20-30 เซนติเมตร
– หลังจากปลูกเสร็จให้รดน้ำให้ชุ่ม
การดูแล
– ให้น้ำหลังจากปลูกวันละ 1-2 ครั้ง หรืออาจให้วันเว้นวันเมื่อต้นกระเพราแตกกิ่งเป็นพุ่มใหญ่
– ให้ปุ๋ยคอก อัตรา 200 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ในอัตรา 30-50 กก./ไร่ หลังปลูกประมาณ 2-4 อาทิตย์ เมื่อต้นกล้าตั้งต้นได้แล้ว
การเก็บเกี่ยว
การเก็บกระเพราจะเริ่มเก็บได้หลังการปลูก 40-50 วัน และเก็บได้อย่างต่อเนื่องอีกหลายเดือน หากไม่มีการเก็บโดยการถอนทั้งต้น ซึ่งควรเก็บกิ่งแก่ในระยะก่อนออกดอกหรือเริ่มออกดอกซึ่งจะได้กระเพราที่มีกลิ่นหอมแรง









2. การปลูกในแปลงขนาดเล็ก
การปลูกในแปลงขนาดเล็กอาจใช้วิธีการยกร่องสูง 20-30 ซม. หรือไม่ยกร่อง ซึ่งเริ่มด้วยการพรวนดิน และกำจัดวัชพืชในแปลง และตากดิน 2-3 วัน
การปลูกด้วยต้นกล้า เนื่องจากเป็นการปลูกในปริมาณน้อยจึงเตรียมกล้าในแปลงบางส่วนที่เตรียมไว้หรือเตรียมในดินที่ว่างนอกแปลงแล้วจึงย้ายมาปลูกในแปลงในระยะ 30-40 ซม./ต้น หากปลูกเพื่อการค้ามักปลูกในระยะถี่ขึ้น เช่น 20-30 x 20-30 เซนติเมตร
การปลูกด้วยการหว่านที่มักปลูกเพื่อการค้า จะใช้วิธีหว่านเมล็ดลงแปลง โดยพยายามให้เมล็ดตกห่างกันให้มากที่สุด 20-30 ซม. พร้อมด้วยใช้คราดเกลี่ยดินกลบเล็กน้อย
การดูแลรักษาจะเหมือนกับการปลูกในแปลงใหญ่แต่อาจไม่พิถีพิถันมากก็ได้ และที่สำคัญควรกำจัดวัชพืชอย่างสม่ำเสมอ
การเก็บกระเพราด้วยการปลูกเพื่อรับประทานเองจะไม่เก็บด้วยการถอนทั้งต้น แต่จะค่อยๆเก็บรับประทานเมื่อต้องการได้อย่างตลอดนาน 1-2 ปี หรือมากกว่านั้นขึ้นกับการดูแลรักษา






3. การปลูกในกระถาง
วิธีการนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่มีที่ดินหรือหาที่ว่างบริเวณบ้านปลูกไม่ได้ จึงใช้วิธีการปลูกในกระถางไว้เพื่อรับประทานเอง
– กระถางที่ใช้อาจเป็นกระถางดินเผาหรือวัสดุที่หาได้ง่าย
– ใช้ดินผสมกับมูลสัตว์หรือเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น แกลบ ขี้เถ้า ผสมในอัตราส่วนดินกับวัสดุผสม 2:1 หรือ 3:1
– การปลูกจะใช้วิธีการโรยเมล็ดในกระถาง 5-10 เมล็ด ขึ้นอยู่กับขนาดกระถาง พร้อมเกลี่ยดินกลบเล็กน้อย และรดน้ำหลังการปลูก
– ต้นกระเพราจะขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ และต้องคอยให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น