วันเสาร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2560

พลเอกอนันต์พร กาญจนรัตน์ ชื่นชม การสร้างมูลค่าเพิ่มของ เกษตรกร ด้วยการใช้พลังงานทดแทน



             พลเอกอนันต์พร กาญจนรัตน์  รัฐมนตรีว่าการทรวงพลังงาน พร้อมด้วยนายอารีพงศ์ภู่ชอุ่ม  ปลัดกระทรวงพลังงาน  ผู้บริหารกระทรวงพลังงาน  ข้าราชการ เจ้าหน้าที่และสื่อมวลชน  ลงพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี  เพื่อติดตามการดำเนินงาน ด้านการสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ตั้งแต่ระดับชุมชนจนถึงระดับประเทศโดยตรวจติดตามการใช้งบประมาณ Block  Grant โครงการส่งเสริมพลังงานทดแทนชุมชน  โรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสวนกล้วยทอง อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี  เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรในพื้นที่   ด้วยเทคโนโลยีพลังงานทดแทนและเปิดป้ายโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ โรงที่ 2 ของกลุ่ม พร้อมกล่าวว่า   การสร้างความมั่นคงในภาคพลังงานของประเทศกระทรวงพลังงานมุ่งเน้นการส่งเสริมให้เกิดความมั่นคง  ตั้งแต่ระดับรากหญ้าไปจนถึงการประกอบกิจการพลังงานระดับประเทศ  ซึ่งการลงพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี  ไนครั้งนี้เป็นการติดตามโครงการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนในชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนในพื้นที่อย่างยั่งยืน   และเพื่อตรวจติดตามศักยภาพของแหล่งพลังงานบนของประเทศโดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนส่วนกลัวอยู่ทองตำบลจรเข้สามพัน อำเภออู่ทอง  จังหวัดสุพรรณบุรี  ถือเป็นกลุ่มที่ประสบความสำเร็จและเป็นต้นแบบการใช้พลังงานทดแทนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนอย่างชัดเจน  นอกจากนี้ ยังได้ต่อยอดการพัฒนาบุคลากรเทคโนโลยีและการจัดการความรู้จนสามารถพัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านพลังงานและเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบครบวงจร
             



 









             ทั้งนี้  การรวมตัวกันของเกษตรกรในพื้นที่ถือเป็นการสร้างมูลราคาเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรให้ชุมชนมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นด้วยกระบวนการแปรรูป อาทิ กล้วยอบกล้วยตาก  ข้าวเกรียบรสต่างๆ เป็นต้น แต่ด้วยกระบวนการผลิตดั้งเดิมทำให้ประสบปัญหาเรื่องผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐานและยังมีต้นทุนค่าพลังงานคนข้างสูง จากการพึ่งพาเชื้อเพลิงแอลพีจีเป็นหลัก  ซึ่งการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสวนกล้วยอู่ทอง  มีศักยภาพที่จะส่งเสริมด้านพลังงานทดแทนในกระบวนการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์  กระทรวงพลังงานจึงได้สนับสนุนระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ภายใต้งบประมาณปี 2560 เพื่อช่วยลดปริมาณการใช้ก๊าซแอลพีจีในขั้นตอนการผลิตซึ่งสามารถลดได้จำนวน 20 ครั้งต่อเดือน  คิดเป็นเงินจำนวน 84,000 บาทต่อปีตลอด  สามารถประหยัดเวลาต่อรอบการผลิตจากเดิมที่ต้องใช้เวลามากถึง  4 วัน  เหลือ 2 วัน  และยังสามารถลดความเสียหายของวัตถุดิบลงได้ 5% หรือคิดเป็นเงินจำนวน 3500 บาทต่อเดือน ปัจจุบันด้วยระบบการผลิตที่มีศักยภาพเพิ่มขึ้นทำให้สามารถต่อยอดไปสู่การแปรรูปผลิตภัณฑ์ประเภทอื่นๆ อาทิ  ก้านเผือก มะเขือเทศเชอรี่อบแห้งและข้าวแต๋น เป็นต้น  ซึ่งสามารถสร้างรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์แปรรูปสี่ถึง 50,000 บาทต่อเดือนสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนได้อย่างยั่งยืน  อย่างไรก็ตาม  ขอเชิญชวนมาเที่ยวขม ที่สวนกล้วยอู่ทอง เพื่อเป็นการต่อยอดสร้างความเข้มแข็ง ของกลุ่มอย่างยั่งยืน




 





เกรียงไกร  ก่อเกียรติตระกูล  บรรณาธิการข่าว        
เรวัติ  น้อยวิจิตร  Hub Admin rewat.noyvijit@hotmail.com  081-9107445

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น