วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

สุพรรณบุรี ชาวบ้านร้อง ศูนย์ดำรงธรรมต้าน รง. ปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม




        ที่ศาลากลางจังหวัดสุพรรณบุรี ได้มีประชาชนกว่า 200 คนเดินทางเข้าพบว่าที่ร้อยตรีสุพีร์พัฒน์ จองพานิช ผวจ.เพื่อยื่นหนังสือคัดค้านการออกใบอนุญาต ให้กับบริษัท เอส.เอ สยามรีคัฟเวอรี่ จำกัด ประกอบกิจการคัดแยกขยะอิเล็กทรอนิก ตั้งอยู่ หมู่ 3 ต.บ้านกร่าง อ.ศรีประจันต์ จ. สุพรรณบุรี ได้ขออนุญาตประกอบกิจการโรงงานแห่งใหม่ทั้งที่ตั้งโรงงานเดิมที่ประกอบกิจการอยู่แล้วปล่อยของเสียที่ป่นเปื้อนสารเคมีที่เป็นพิษสู่สิ่งแวดล้อม โดยมีนายสมชาย เลิศพงศ์ภากรณ์ รอง ผวจ.สุพรรณบุรี พ.อ.ธนณัฐ ยังเฟื่องมนต์ รองผู้บังคับการจังหวัดทหารบกกาญจนบุรี (รอง ผบ.จทบ.ก.จ.) ในฐานะรองผู้บังคับการกองกำลังรักษาความสงบจังหวัดทหารบกกาญจนบุรี (พื้นที่ จ.สุพรรณบุรี) เป็นตัวแทนรับหนังสือเพื่อนำส่ง ผวจ.



               จากนั้น คณะตัวแทน ผวจ.ได้เชิญตัวแทนชาวบ้านเข้าร่วมรับฟังปัญหาจากประชาชนที่ห้องรับเรื่องร้องทุกข์ที่ศูนย์ดำรงธรรม ของจังหวัด ซึ่งความเดือดร้อนที่ชาวบ้านได้รับจากโรงงานประกอบด้วย 1 น้ำจากเหมืองทิ้งน้ำสาธารณะที่ผ่านจากโรงงานมีสี่ขุ่นแดง และก่อให้เกิดอาการคันต่อเกษตรกรผู้สัมผัสน้ำโดยตรง2 มีฝุ่นละออง และกลิ่นสารเคมีออกมาจากโรงงาน ซึ่งลมพัดเข้าหาบ้านเรือนของประชาชนรวมถึงเกษตรกรที่ทำงานโดยรอบโรงงาน ก่อให้เกิดอาการระคายเคือง ตา จมูก ผิวหนัง 3. พื้นที่โดยรอบทำการเกษตร เช่น ปลูกข้าว เผือก พืชผักสวนครัว รวมถึงผักบุ้งที่ขึ้นในเหมืองน้ำ เกรงว่าจะมีสารพิษที่ก่ออันตรายร้ายแรงตกค้างในดิน ในพืชผลทางการเกษตร ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อสุขภาพของผู้บริโภคพืชผักดังกล่าว  ขอให้ ตรวจสอบที่ตั้งโรงงานทั้งแห่งเดิมซึ่งอยู่ ใน “เขตโครงการจัดรูปที่ดิน ขอให้ สั่งให้เจ้าของโรงงานหยุดประกอบกิจการ และให้รื้อถอนโรงงานออกไปจากพื้นที่ตำบลบ้านกร่าง คืนพื้นที่เกษตรกรรมที่ไม่มีมลพิษให้กับชาวบ้านด้วย




         พ.อ.ธนณัฐ ยังเฟื่องมนต์ รองผู้บังคับการจังหวัดทหารบกกาญจนบุรี (รอง ผบ.จทบ.ก.จ.) ในฐานะรองผู้บังคับการกองกำลังรักษาความสงบจังหวัดทหารบกกาญจนบุรี (พื้นที่ จ.สุพรรณบุรี) กล่าวว่าขณะนี้ได้สั่งให้โรงงานหยุดทำการชั่วคราว เพื่อทำการตรวจสอบเนื่องจากมีประชาชนร้องเรียนเข้ามาเป็นจำนวนมากโรงงานแยกขยะมลพิษเหล่านี้ไม่ควรเป็นโรงงานระบบเปิด เมื่อระบบบำบัดน้ำเสียไม่มีก็ต้องบังคับให้มี หรือถ้าทำไม่ได้ก็ต้องใช้อำนาจสั่งปิดโรงงาน เมื่อทำระบบบำบัดน้ำเสียเสร็จแล้วก็ต้องให้กรมสิ่งแวดล้อมเข้าไปตรวจสอบเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่ามีความปลอดภัยต่อการดำรงชีวิตของประชาชน และจัดตั้งคณะกรรมการเข้าไปตรวจสอบ ถ้าหากประชาชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพบสิ่งผิดปกติให้ท่านรีบแจ้งความและศูนย์ดำรงธรรมจะรีบเร่งดำเดินการให้ ต้องคำนึงถึงประชาชนเป็นหลัก




                 ทางด้าน นายสมชาย  เลิศพงศ์ภากรณ์ รองผวจ.สุพรรณบุรี กล่าวว่าเหมืองน้ำที่ผ่านโรงงานเป็นเหมืองน้ำสาธารณะ สามารถแจ้งความได้เลยในข้อหาสร้างความเสียหายให้กับของสาธารณะ ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาสืบสวน ถ้าเจอสิ่งผิดปกติหรือเจือปนก็ให้ดำเนินคดีตามกฎหมาย ไม่ต้องรอให้ทางจังหวัด ประชาชนสามารถแจ้งความได้เลย โรงงานที่กำลังจะก่อสร้างใหม่ต้องรอทางคณะกรรมการปฏิรูปที่เดินจะอนุญาตให้ก่อสร้างหรือไม่ ส่วนโรงงานเก่าจะรีบเข้าไปตรวจสอบว่าโรงงานก่อตั้งได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ถ้าไม่ถูกต้องก็จะให้หน่วยงานที่เกี่ยวไปดำเนินการตามอำนาจของหน่วยงานนั้น ในระหว่างที่รอตรวจสอบให้โรงงานหยุดดำเนินกิจการไปก่อน ด้านกฎหมายก็จะตรวจดูว่าถูกต้องหรือไม่ ถ้าไม่ถูกต้องก็จะดำเนินการตามหน้าที่ของส่วนราชการนั้นๆ ปัญหาด้านน้ำและอากาศก็จะให้สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 5 ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจวัดคุณภาพน้ำ คุณภาพอากาศ และมีผู้แทนของภาคประชาชน ท้องถิ่น ส่วนราชการร่วมกันตรวจสอบด้วยและอาศัยชาวบ้านเป็นหลักให้ร่วมตรวจสอบ เช่นเรื่องโรงงานที่ตั้งอยู่บนเหมืองน้ำสาธารณะโรงงานห้ามปล่อยน้ำที่มีสารเจือปนออกมาเด็ดขาดถ้าตรวจพบว่ามีการลักลอบปล่อยน้ำเสียก็จะสั่งปิดโรงงานแบบเด็ดขาด ซึ่งตอนนี้ให้ทางโรงงานปิดเพื่อไปดำเนินการปรับปรุงและมากำหนดแนวทางเพื่อให้อยู่ร่วมกันได้ทำให้ชาวบ้านพอใจแยกย้ายกันกลับ






              เกรียงไกร  ก่อเกียรติตระกูล  บรรณาธิการข่าวท้องถิ่น  อู่ทองนิวส์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น